ถาม-ตอบ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

วัคซีนโควิด-19 มีส่วนช่วยในการป้องกันไวรัสและช่วยลดอาการความรุนแรงจากการติดเชื้อได้ สามารถฉีดได้แม้เคยได้รับเชื้อและรักษาหายแล้ว ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับวัคซีนก่อน ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หากรับวัคซีนแล้วมีอาการรุนแรง เช่น มีผื่นแดง คลื่นไส้อาเจียน หอบเหนื่อยคัดจมูก ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ และความดันลดควรปรึกษาแพทย์และเลี่ยงการรับวัคซีนยี่ห้อเดิมในเข็มที่ 2

1. ทำไมจึงควรฉีดวัคซีนโควิด-19

ในภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กินเวลามาอย่างยาวนาน หากติดเชื้อไวรัสจะทำให้มีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยตามตัว ไอแห้ง หายใจลำบาก หากรุนแรงถึงขั้นปอดติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการอื่น ๆ จะทำให้เสี่ยงเสียชีวิตได้มากขึ้นหากไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 นอกจากนี้การรับวัคซีนยังมีประโยชน์อีก ดังนี้

  • อันตรายจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่มีการค้นพบเชื้อไวรัสโควิด-19 มาจนถึงปัจจุบันพบว่ามีการกลายพันธุ์เป็นชนิดต่าง ๆ อยู่หลายชนิดที่มีความรุนแรงมากขึ้น และสามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าแต่ก่อนอย่างมาก เช่น สายพันธุ์อินเดีย สายพันธุ์อังกฤษ และสายพันธุ์แอฟริกา เป็นต้น ด้วยการกระจายและความรุนแรงที่มากขึ้นของไวรัสเหล่านี้จึงควรฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ
  • ลดอันตรายจากอาการรุนแรง ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีวัคซีนโควิด-19 ที่ป้องกันเชื้อไวรัสได้ 100 % แต่การฉีดวัคซีนโควิด-19 ไว้ก่อนนั้นจะสามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ส่งผลให้ลดความเสี่ยงต่ออาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตด้วย
  •  อ่านผลข้างเคียงเมื่อต้องฉีดวัคซีนโควิดแอสตร้าเซนเนก้า

 2. ใครบ้างที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19

ทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีน แต่ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 เนื่องจากยังไม่มีผลการวิจัยยืนยันว่าควรฉีดหรือไม่ นอกจากวัคซีน Pfizer-BioNTech ที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าสามารถฉีดให้กับผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป และเนื่องจากปริมาณวัคซีนที่มีจำกัดการฉีดวัคซีนจึงต้องมุ่งเน้นให้กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงก่อน ได้แก่

  • บุคลากรทางการแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชน หรือเจ้าหน้าที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับเชื้อไวรัส
  • ผู้ป่วยกลุ่มโรคความเสี่ยงสูง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคระบบประสาท โรคมะเร็ง และโรคเบาหวานโรคอ้วน
  • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

สำหรับผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มความเสี่ยงสูงสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้เมื่อปริมาณวัคซีนมีจำนวนมากขึ้น

3. ข้อควรรู้ในการรับวัคซีนโควิด-19 แต่ละกลุ่มโรค

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด : หากเป็นผู้ป่วยเสี่ยงอาการอันตรายต่อชีวิตสูง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลัน และภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นต้น จำเป็นต้องรอให้อาการคงที่และดีขึ้นจนอยู่ในระดับปลอดภัยต่อการรับวัคซีนโควิด-19 หากพบว่ามีความดันโลหิตสูงต้องทำการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีผู้ป่วยรักษาตัวด้วยการทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเพื่อเพิ่มความระมัดระวังในการรับวัคซีน
  • ผู้ป่วยโรคระบบประสาท : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดง โรคภูมิคุ้มกันระบบประสาท และโรคลมชักสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้ ผู้ป่วยต้องมีอาการคงที่ในระดับที่ไม่อันตรายติดต่อกันมาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หากมีการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับวัคซีน
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง : หากผู้ป่วยรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด ต้องทำการเว้นระยะฉีดวัคซีนโควิด-19 ขั้นต่ำ 3 เดือนขึ้นไป กรณีเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด ควรรับวัคซีนหลังทำการผ่าตัดไปแล้วอย่างน้อย 3 วัน
  • ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง : ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดีสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้หลังอาการกำเริบ 2-4 สัปดาห์
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง : ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังหรือมีการฟอกเลือด ปลูกถ่ายไต หรือล้างไตทางช่องท้องสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้ หากผู้ป่วยทานยากดภูมิคุ้มกันให้แจ้งแพทย์ก่อนทำการฉีดวัคซีน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคอ้วน : สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมอาการได้ และเป็นโรคอ้วนสามารถเขารับวัคซีนโควิด-19 ได้ กรณีเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ต้องรับอินซูลินต้องแจ้งแพทย์ก่อนรับวัคซีนโควิด-19

กรณีผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป และประชาชนทั่วไปหากไม่มีความเสี่ยงโรคดังกล่าวตามที่กล่าวไปสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้ตามปกติ

4. วัคซีนโควิด-19 มียี่ห้ออะไรบ้าง

การป้องกันเชื้อไวรัสด้วยวัคซีนมีอยู่ด้วยกันหลายยี่ห้อ วัคซีนทั้งหมดสามารถลดอาการรุนแรงจากเชื้อไวรัสได้ โดยทางโรงพยาบาลเพชรเวชขอยกตัวอย่างวัคซีนที่เป็นที่คุ้นเคยหรือรู้จักกันดี ดังนี้

  • วัคซีนโควิด-19 BioNTech/Pfizer ฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์
  • วัคซีนโควิด-19 Sinovac ฉีด 2 เข็มห่างกัน 2 สัปดาห์
  • วัคซีนโควิด-19 Moderna ฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์
  • วัคซีนโควิด-19 Sinopharm ฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์
  • วัคซีนโควิด-19 Oxford-AstraZeneca ฉีด 2 เข็มห่างกัน 4-12 สัปดาห์
  • วัคซีนโควิด-19 Johnson & Johnson ฉีด 1 เข็ม

 5. วัคซีนโควิด-19 มีกี่ชนิด

วัคซีนโควิด-19 ที่เห็นอยู่ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดหลักตามรูปแบบการผลิต ได้แก่

  • วัคซีนโควิด-19 Viral vector vaccines เป็นวัคซีนที่ใช้ไวรัสอ่อนแรง และไม่สามารถแพร่กระจายมาเป็นพาหะในการผลิต จึงทำให้เราไม่ป่วยหากรับวัคซีนชนิดนี้ ในกระบวนการนี้ร่างกายจะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อต้านไวรัสคล้ายกับการจำลองการติดเชื้อเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากยิ่งขึ้น วัคซีนที่ใช้วิธีนี้ในการผลิต เช่น วัคซีน Oxford-AstraZeneca วัคซีน Johnson & Johnson และวัคซีน Sputnik V
  • วัคซีนโควิด-19 mRNA vaccines จากสารพันธุกรรมไวรัส SARS-CoV-2 เพื่อให้เกิดโปรตีนหนามในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเป็นวิธีเดียวกันกับที่เคยใช้พัฒนาปรับปรุงวัคซีนอีโบลา วัคซีนที่ใช้วิธีนี้ในการผลิต เช่น วัคซีน Moderna และ วัคซีน BioNTech/Pfizer
  • วัคซีนโควิด-19 Inactivated vaccines ผลิตจากเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ตายแล้ว เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน มีต้นทุนการผลิตในระดับสูง ต้องใช้ความระมัดระวังและใช้เวลานานในการผลิต วัคซีนที่ใช้วิธีนี้ เช่น วัคซีน Sinopharm และวัคซีน Sinovac
  • วัคซีนโควิด-19 Protein-based vaccines จากโปรตีนของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ร่วมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อวัคซีนเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกัน วัคซีนที่ใช้วิธีนี้ในการผลิต เช่น วัคซีน Novavax เป็นต้น

วัคซีนเหล่านี้ส่วนมากต้องได้รับการฉีด 2 เข็ม และยังไม่มีรายงานว่าสามารถฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อได้หรือไม่ ในส่วนนี้ต้องติดตามผลการวิจัยต่อไป

6. ระยะเวลาการป้องกันจากวัคซีนโควิด-19

ยังไม่มีการยืนยันระยะเวลาการทำงานของวัคซีนโควิด-19 เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย แต่มีการคาดการณ์ว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพอย่างต่ำ 6 เดือน แต่ระยะเวลาที่กล่าวไปต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านร่างกายส่วนบุคคล การรับเชื้อก่อนร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีน และการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่วัคซีนจะทำงานได้ดีที่สุดหลังฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้ว 14-28 วัน

7. วัคซีนโควิด-19 ควรฉีดพร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่หรือไม่

วัคซีนโควิด-19 ไม่ควรฉีดพร้อมกับวัคซีนอื่นเนื่องจากหากมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นจะทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่ามาจากวัคซีนตัวไหน ควรฉีดให้ห่างกันอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นต้องฉีดวัคซีนทันทีเพื่อความปลอดภัย เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้าเมื่อถูกสุนัขกัด เป็นต้น

8. ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19

หลังได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันอาการหรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละตัวบุคคลจึงควรเฝ้าดูอาการหลังจากฉีดวัคซีนในสถานพยาบาลอย่างน้อย 30 นาที โดยอาการที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้

  • อาการไม่รุนแรงจากการรับวัคซีนโควิด-19 : มีไข้อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ และมีอาการบวมแดงที่บริเวณจุดฉีดวัคซีน หากมีอาการเหล่านี้ถือว่าอาการไม่รุนแรงสามารถรับวัคซีนเข็มที่ 2 ได้ตามปกติ
  • อาการรุนแรงจากการรับวัคซีนโควิด-19 : มีผื่นแดงขึ้นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน หอบเหนื่อยคัดจมูก ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ และความดันลด หากมีอาการเหล่านี้อาจต้องพิจารณาการให้วัคซีนเข็มที่ 2 ยี่ห้ออื่นที่มีส่วนผสมแตกต่างจากวัคซีนเข็มแรก

9. ก่อนเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ควรแจ้งอะไรบ้าง

  • มีอาการหรือเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1
  • หากมีไข้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไปต้องแจ้งแพทย์ทุกครั้ง
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา อาหาร สารก่อภูมิแพ้ และวัคซีนก่อนรับวัคซีนโควิด-19
  • สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ อยู่ในช่วงให้นมลูก หรือต้องการมีบุตร
  • มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่ควรแจ้งแพทย์ก่อนรับวัคซีนโควิด-19
  • มีอาการเจ็บป่วยถึงแม้จะเล็กน้อยก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือมีรอยเลือดช้ำตามร่างกาย

ถึงแม้การรับวัคซีนโควิด-19 จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100 % แต่เป็นทางเลือกที่ดีที่สามารถช่วยลดความเสี่ยง และลดความรุนแรงของอาการป่วยเมื่อติดเชื้อ หากได้รับวัคซีนแล้วยังต้องปฏิบัติตามมาตรการสังคมเพื่อลดความเสี่ยงของตนเองและผู้อื่นด้วย

ขอขอบคุณที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลเพชรเวช
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/COVID-19-Vaccines

ตอบข้อสงสัยและข้อควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ถาม-ตอบ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19
ถาม-ตอบ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19
ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh1NXMtz42DIGuZYtgIY4pxX14DgXuMtZI6XBCp0fqePYqRLHceiOuPkYMx85_oAWPg5ee3nRgfWMFuPbFfumPTIMsbNipcwL1YJsgF-DUr4NArysmSythxQZEq90mzIJQcOfiwqCd_JGA/w320-h168/%25E0%25B8%2596%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1-%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2594-19.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh1NXMtz42DIGuZYtgIY4pxX14DgXuMtZI6XBCp0fqePYqRLHceiOuPkYMx85_oAWPg5ee3nRgfWMFuPbFfumPTIMsbNipcwL1YJsgF-DUr4NArysmSythxQZEq90mzIJQcOfiwqCd_JGA/s72-w320-c-h168/%25E0%25B8%2596%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1-%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2594-19.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2021/06/19_99.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2021/06/19_99.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy