การเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำภายหลังฉีดวัคซีนโควิด-19

เฝ้าระวังผลข้างเคียงภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 และหากเกิดอาการ สามารถขอเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

บทความโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร
ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

แม้จะก้าวย่างเข้าสู่ปีที่สองของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แล้ว สถานการณ์การระบาดของโรคยังไม่มีทีท่าจะสิ้นสุดในระยะเวลาอันสั้น วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ถือเป็นความหวังสูงสุดในการหยุดการติดต่อของโรคร้ายนี้ ประเทศไทยได้เริ่มการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนฉบับนี้ ขอนำเสนอข้อมูล “ภาวะหลอดเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำภายหลังฉีดวัคซีนโควิด-19” เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและสังเกตอาการตนเอง เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 และหากเกิดอาการ สามารถขอเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีครับ

1. ลิ่มเลือดและภาวะการเกิดลิ่มเลือดคืออะไร เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ?

การเกิดลิ่มเลือดเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกาย ในภาวะเมื่อเรามีบาดแผลเกิดขึ้น เกล็ดเลือดจะทำหน้าที่รวมกลุ่มกันจนกลายเป็นลิ่มเลือดเพื่อทำให้เลือดหยุด ส่วนสาเหตุการเกิดลิ่มเลือดอุดตันนั้น เกิดจาก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 
     1. ผนังหลอดเลือดผิดปกติ เช่น เกิดบาดแผลจากของมีคม การผ่าตัดทำหัตถการอาจทำให้หลอดเลือดบางส่วนเสียหาย หรือ แม้แต่การเกิดลิ่มเลือดจากภาวะไขมันเกาะผนังเส้นเลือด 
     2. การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ เช่น การไหลเวียนเลือดช้าลง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวอาจเกิดการอุดตันจนเกิดลิ่มเลือดในที่สุด 
     3. การแข็งตัวของเกล็ดเลือดผิดปกติ เช่น การขาดสารต้านการแข็งตัวของเลือด (anti-coagulation factors) หรือร่างกายขาดโปรตีนในการยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ง่าย ปกติภาวะลิ่มเลือดอุดตันพบในกลุ่มประชากรสูงวัยมากกว่าในอายุน้อยและส่วนใหญ่จะพบลิ่มเลือดอุดตันในบริเวณขาและปอด

2. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำภายหลังฉีดวัคซีนคืออะไร ?

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำจากวัคซีน หรือ Vaccine-Induced immune Thrombotic Thrombocytopenia (VITT) มีการรายงานครั้งแรกในทวีปยุโรปหลังผู้ป่วยได้รับวัคซีนโควิด-19 และการอุดตันของลิ่มเลือดจะเกิดในตำแหน่งที่พบน้อยกว่าการเกิดลิ่มเลือดด้วยสาเหตุอื่น ๆ เช่น หลอดเลือดดำในสมองหรือในช่องท้อง นอกจากนั้นยังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมด้วย ซึ่งจะคล้ายกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำและหลอดเลือดอุดตันในผู้ป่วยที่ได้รับเฮปาริน (heparin) หรือเรียกว่า heparin-induced thrombocytopenia (HIT) แต่ภาวะ VITT เกิดขึ้นในคนไข้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ซึ่งไม่มีประวัติการได้รับเฮปาริน

3. ลิ่มเลือดอุดตันหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอาการอย่างไร ?

เนื่องจากลิ่มเลือดสามารถเกิดได้ในหลายบริเวณของร่างกาย ดังนั้นอาการที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามอวัยวะที่ลิ่มเลือดไปอุดตัน เช่น ในปอด จะมีอาการเจ็บหน้าอกแปล๊บๆ หายใจไม่อิ่มและเหนื่อยง่าย บริเวณขา จะเกิดอาการขาบวมข้างเดียว ในท้องจะเกิดอาการปวดท้องรุนแรง ส่วนในอวัยวะที่สำคัญต่อชีวิต (vital organs) เช่น เส้นเลือดสมองจะเกิดอาการปวดศีรษะรุนแรง เมื่อ ไอ จาม จะปวดมากขึ้น และ อาจมีภาวะอ่อนแรง ชาซีกเดียวคล้าย stroke ก็ได้ หากเกิดที่เส้นเลือดหัวใจจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้

4. วัคซีนโควิด-19 ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้อย่างไร ?

ปัจจุบันสาเหตุการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากวัคซีนโควิด-19 ยังไม่ทราบแน่ชัด แพทย์และผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า เป็นผลจากวัคซีนโควิด-19 ไปเพิ่มการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และภูมิคุ้มกันดังกล่าวนี้กระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด เกิดเป็นลิ่มเลือดไปอุดเส้นเลือดในอวัยวะต่าง ๆ นอกจากนั้นยังทำให้ปริมาณเกล็ดเลือดในร่างกายลดลงเนื่องจากเกล็ดเลือดส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้การสร้างลิ่มเลือดในขึ้นตอนแรก ในผู้ป่วยจะสามารถตรวจพบ anti-platelet factor 4 (anti-PF-4)/ heparin antibody คล้ายกับภาวะ heparin-induced thrombocytopenia (HIT) ซึ่งปัจจุบันไม่พบภาวะลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือดต่ำในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนชนิดอื่นใด นอกจากพบในผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนโควิด-19

5. ลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 พบบ่อยแค่ไหน ท่านใดบ้างที่ต้องระวัง ?

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำจากวัคซีน หรือ Vaccine-Induced immune Thrombotic Thrombocytopenia (VITT) เกิดขึ้นได้ในอัตราส่วน 1:125,000 – 1:1,00,000 กล่าวคือ ในผู้รับวัคซีน 1 ล้านคน จะพบภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด-19 จำนวนเฉลี่ย 3.6 คน (ข้อมูลวันที่ 8 มิถุนายน 2564)11 และส่วนใหญ่พบในหญิงที่มีอายุน้อยกว่า 55 ปี ซึ่งอุบัติการถือว่าน้อยมากและประโยชน์จากการฉีดวัคซีนมีมากกว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลในประเทศไทยยังต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันทางสถิติภาวะ VITT กับการได้รับวัคซีนชนิดต่าง ๆ ที่ได้รับอนุมัติให้ฉีดในไทย เนื่องจากการฉีดวัคซีนในประเทศพึ่งเริ่มต้นขึ้น

6. ผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 จะสังเกตอาการตัวเองได้อย่างไรว่า มีอาการลิ่มเลือดอุดตัน ?

หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นเวลา 30 นาที ผู้ได้รับวัคซีนอาจจะมีไข้ต่ำ ๆ หรือ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย มีผื่นเล็กน้อย อาการเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 2-3 วัน ส่วนอาการ ลิ่มเลือดอุดตัน จะเกิดในช่วงเวลา 5-42 วันหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยหากท่านใดมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ปวดศีรษะรุนแรง แขนขาชา หรือ อ่อนแรง หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ตามัว เห็นภาพซ้อน ซัก เหนื่อยง่าย หายใจลำบากหรือติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก ขาบวมแดงหรือซีดเย็น ปวดท้องหรือปวดหลังรุนแรง ให้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุและรักษาในสถานพยาบาลที่ท่านรักษาตัวเป็นประจำ

7. หากเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ แพทย์จะรักษาเราอย่างไร ?

หากผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดต่ำร่วมกับค่าสารบ่งชี้ทางชีวภาพ d-dimer สูงซึ่งจากการสลายของโปรตีนไฟบริน หรือมีเกล็ดเลือดต่ำร่วมกับลิ่มเลือดอุดตันภายใน 5-42 วันหลังฉีดวัดซีนโควิด-19 เนื่องจากการตรวจยืนยันภาวะ VITT ต้องทำในห้องปฏิบัติการที่ซับซ้อน ระหว่างรอผลวินิจฉัย แพทย์จะให้สารอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำ (intravenous immunoglobulin, IVIG) และอาจให้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ เช่น methylprednisolone หรือ prednisolone นอกจากนั้นแล้วแพทย์อาจให้ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือดหรืออาจรักษาด้วยวิธีแลกเปลี่ยนพลาสมา

ในภาวะที่การดำเนินชีวิตประจำวันภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นไปด้วยความยากลำบาก วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็นความหวังในการคืนวิถีชีวิตปกติใหม่ของคนในชาติ แม้ว่าวัคซีนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงในผู้รับการฉีดบางราย แต่เนื่องจากผลข้างเคียงพบได้น้อยมาก และวัคซีนมีประโยชน์ต่อผู้ได้รับมากกว่าในทุกกรณี หากเรารู้เท่าทันผลข้างเคียงที่รุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ตื่นตัว ตระหนักแต่ไม่ตระหนก เฝ้าสังเกตอาการเหล่านี้อยู่เสมอ เราจะอยู่รอดปลอดภัยจากผลข้างเคียงของการได้รับวัคซีนโควิด-19 ได้ครับ เพราะยาและวัคซีนทุกชนิดย่อมมีผลข้างเคียงตามมาเสมอ สวัสดีครับ

เอกสารอ้างอิง
  1. Choi P, Grace RF, Ahlen MT, Nazy I, Sachs UJ, Arnold DM, et al. The SSC Platelet Immunology Register of VITT and VIITP: Towards standardization of laboratory and clinical parameters. J Thromb Haemost. 2021.
  2. Karnam A, Lacroix-Desmazes S, Kaveri SV, Bayry J. Vaccine-induced prothrombotic immune thrombocytopenia (VIPIT): Consider IVIG batch in the treatment. J Thromb Haemost. 2021.
  3. Oldenburg J, Klamroth R, Langer F, Albisetti M, von Auer C, Ay C, et al. Diagnosis and Management of Vaccine-Related Thrombosis following AstraZeneca COVID-19 Vaccination: Guidance Statement from the GTH. Hamostaseologie. 2021.
  4. Thaler J, Ay C, Gleixner KV, Hauswirth AW, Cacioppo F, Grafeneder J, et al. Successful treatment of vaccine-induced prothrombotic immune thrombocytopenia (VIPIT). J Thromb Haemost. 2021.
  5. von Hundelshausen P, Lorenz R, Siess W, Weber C. Vaccine-Induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia (VITT): Targeting Pathomechanisms with Bruton Tyrosine Kinase Inhibitors. Thromb Haemost. 2021.
  6. Xie C, Vincent L, Chadwick A, Peschl H. COVID-19 vaccine induced prothrombotic immune thrombocytopenia. Eur Heart J. 2021.
  7. https://www.europeanpharmaceuticalreview.com/article/152978/vaccine-induced-prothrombotic-immune-thrombocytopenia-pathogenetic-and-epidemiological-issues-of-concern/
  8. https://covid19-sciencetable.ca/wp-content/uploads/2021/03/Science-Brief_AstraZeneca_General_20210326_published.pdf?fbclid=IwAR0E51vwM9QWXwy0xYMc0lp-KD6gtoROh2nON4_SyqD8UU3fFdKl1qh5GuU
  9. https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/ 25640608110806AM_VITT.pdf
  10. https://www.hematology.org/covid-19/vaccine-induced-immune-thrombotic-thrombocytopenia
  11. https://www.acc.org/latest-in-cardiology/articles/2021/04/01/01/42/vaccine-induced-thrombotic-thrombocytopenia-vitt-and-covid-19-vaccines (08/06/2564)
  12. ำแนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่กระตุ้นการเกิดหลอดเลือดอุดตันจากภูมิคุ้มกันภายหลังได้รับวัคซีนVaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia (VITT), สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย, เผยแพร่ 12 เมษายน 2564
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: การเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำภายหลังฉีดวัคซีนโควิด-19
การเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำภายหลังฉีดวัคซีนโควิด-19
เฝ้าระวังผลข้างเคียงภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 และหากเกิดอาการ สามารถขอเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjSjXVSkZYTFgAAIuk32F7uzhj0N1XmOKnQqZdR3_fiHPtOpZUpHCzpo-15IHr2kjitTkOAGXE2yobrXdMIOFOE9LCSKi1kHp5Tk7Xw6LyEZec3JWs2bCPetHbp-AJXTEavtmhNTHAPGUg/w640-h472/2021-06-20_001943.png
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjSjXVSkZYTFgAAIuk32F7uzhj0N1XmOKnQqZdR3_fiHPtOpZUpHCzpo-15IHr2kjitTkOAGXE2yobrXdMIOFOE9LCSKi1kHp5Tk7Xw6LyEZec3JWs2bCPetHbp-AJXTEavtmhNTHAPGUg/s72-w640-c-h472/2021-06-20_001943.png
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2021/06/19.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2021/06/19.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy