วัคซีน Covid-19 ที่มีในไทยตอนนี้ด้อยประสิทธิภาพจริงหรือ?
ตอบ : ไม่จริง ปัจจุบันการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดแต่ละตัวไม่สามารถเปรียบเทียบกันตรง ๆ ได้ เนื่องจากมีการศึกษาในสถานที่ที่แตกต่างกันสายพันธุ์ไวรัสต่างกัน กลุ่มทดลองมีความแตกต่างกัน ผลการทดลองจึงอาจไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคชีนได้
- วัคซีนทุกตัวที่ผ่านการรับรองในระยะ 3 มีประสิทธิภาพในการป้องกันความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิตจากโรคในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
- วัคชีนทุกตัวไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็ตาม
- วัคซีนที่มีอยู่ตอนนี้มีประสิทธิภาพที่ดีพอในระดับหนึ่งโดยเฉพาะในแง่ของการลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
- จากการเก็บข้อมูลสถิติในผู้ที่ฉีดวัคซีน “ซีโนแวค หรือ แอสตร้าเซนเนก้า” สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ 100%
- ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโควิด-19 สูงกว่า การเกิดอาการข้างเคียงจากวัคชีนมาก
- กลุ่มอายุน้อยและเพศหญิงมีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงจากวัคซีนมากกว่า
- กลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัวไม่ได้ทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น ในขณะที่หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีอาการหนักกว่สคนปกติ จึงต้องมาฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรค
- ยิ่งเวลานานไป โอกาสติดโรคจะเพิ่มมากขึ้น ยิ่งฉีดเร็วยิ่งดี ยิ่งมีภูมิต้านทานเร็วยิ่งดี
ที่มา :
- ศ. พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผศ. นพ.กำธร มาลาธรรม
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบารามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564