โรคงูสวัด : ภัยเงียบที่คุณควรรู้

โรคงูสวัด ภัยเงียบที่คุณควรรู้

 

บทความโดย
ผศ.พญ.สุวิรากร ธรรมศักดิ์ ประธานฝ่ายกิจกรรมสังคม สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

ช่วงนี้จะพบคนไข้มาปรึกษาเรื่องตุ่มน้ำที่ผิวหนังเป็นกลุ่ม ๆ เรียงกันเป็นแนวอยู่หลายคนจนเริ่มสงสัยว่างูสวัดมีการระบาดหรือเปล่า แต่งูสวัดเป็นโรคที่อยู่ในตัวผู้ที่เป็นโรคสุกใสแล้ว เมื่อร่างกายภูมิตก อ่อนแอ พักผ่อนน้อย เครียด ไม่ออกกำลังกาย งูสวัดถึงออกมาได้ เพราะฉะนั้นจึงบอกว่ามีการระบาดคงไม่ถูกต้องนัก เลยมาค้นข้อมูลการเกิดโรคนี้ทำให้พบว่า ตัวเลขจากสำนักงานระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา อุบัติการณ์โรคงูสวัดในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป สอดคล้องกับข้อมูลจากภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่จัดให้โรคงูสวัดเป็น 1 ใน 3 โรคติดเชื้อที่สำคัญร่วมกับไข้หวัดและปอดบวม โดยพบได้ราวร้อยละ 20-30 ในประชาชนทั่วไป และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 ในผู้ที่มีอายุถึง 85 ปี และข้อมูลจากสถาบันโรคผิวหนังพบผู้ป่วยงูสวัดปีละประมาณ 1,000 คน เรามารู้จักข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคนี้กันดีกว่า

งูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus : VZV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่อร่างกายได้รับเชื้อชนิดนี้มาครั้งแรกจะก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่อหายจากอีสุกอีใสแล้ว เชื้อไวรัสบางส่วนจะไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาท เมื่อเราอายุมากขึ้น หรือร่างกายอ่อนแอลง เชื้อไวรัสจะออกมาจากปมประสาทมาทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง  

อาการของงูสวัด มี  3 ระยะ คือ ระยะแรกจะมีไข้ต่ำ ปวดเมื่อย ปวดแสบปวดร้อนตามร่างกายบริเวณที่กำลังจะมีผื่นขึ้นเพราะเส้นประสาทเกิดการอักเสบ ในระยะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นงูสวัด บางคนจะรู้สึกเสียวแปล๊บ ๆ ตามผิวหนัง หรือปวดศีรษะอย่างมากบางคนคิดว่าตัวเองเป็นไมเกรน ถ้าเป็นที่เส้นประสาทตา จะปวดตา ตาแดง ถ้าเป็นเส้นประสาทหูอาจจะปวดในรูหู จนกระทั่งมีผื่นออกมาเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 2 ซึ่งจะมีผื่นและเป็นตุ่มแดงขึ้นก่อนและกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส และระยะ 3 จะมีการเรียงตัวของผื่นตามแนวเส้นประสาท เส้นประสาทที่พบบ่อยจะเป็นบริเวณ ลำตัวข้างใดข้างหนึ่ง บริเวณใบหน้า เป็นต้น และโดยปกติของคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติจะเกิดจากโรคตามแนวเส้นประสาทเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น

โรคงูสวัดติดต่อกันได้จากการหายใจหรือสัมผัสกับตุ่มน้ำใสที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโดยตรงได้เช่นกัน โดยหากผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าไปแล้วยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน อาการที่แสดงออกมาก็จะเป็นเพียงโรคอีสุกอีใส แต่หากเคยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อนี้ก็อาจจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกายและแสดงอาการเป็นงูสวัดต่อไป เมื่อผู้รับเชื้อมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าปกติ ดังนั้น ถ้าเป็นงูสวัดควรหลีกเลี่ยงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และเด็กที่ยังไม่เคยหรือได้รับวัคซีนอีสุกอีใส ในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก อาทิ ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคมะเร็ง มีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคได้ทั้ง 2 ข้างของแนวเส้นประสาท แต่แนวเส้นประสาทเราจะไม่ได้ชนกันเป็นวงรอบตัว ทำให้ความเชื่อที่ว่าถ้าเป็นงูสวัดพันรอบตัวแล้วจะต้องเสียชีวิต จึงไม่เป็นความจริง ส่วนตำแหน่งที่น่ากลัวของการป่วยโรคงูสวัด คือ บริเวณแนวเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า เพราะอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นถ้ามีผื่นรอบตาจะต้องตรวจภายในดวงตาด้วย ในกลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำและผู้สูงอายุ ภายหลังจากที่หายจากอาการของโรคแล้ว บางครั้งอาจจะมีอาการปวดแปล๊บ ๆ เหมือนไฟช็อตอีกด้วย เรียกว่า post herpetic neuralgia ซึ่งเป็นอาการที่ทรมานมาก อาการอาจจะหายในเวลาเป็นเดือน เป็นปี หรืออาจจะตลอดชีวิตได้ การรักษาบางครั้งหายยากมาก ยาที่รับประทานอาจมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงมาก ทำให้เสียคุณภาพชีวิตจึงเป็นที่มาของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด อาการปวดเส้นประสาทพบได้ถึงร้อยละ 70-80 ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคงูสวัดก็คือทุกคนที่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสเพราะเชื้อไวรัสไม่ได้หายไปไหน แต่จะซ่อนตัวอยู่ในร่างกายเราไปตลอดชีวิต แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นงูสวัดมีดังนี้ ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะภูมิต้านทานต่าง ๆ เริ่มเสื่อมถอยลง เปิดโอกาสให้เชื้อไวรัสเข้าโจมตีร่างกายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ในกลุ่มผู้สูงอายุยุคใหม่ที่ชอบท่องเที่ยว อาจส่งผลให้นอนหลับไม่ตรงเวลา พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือต้องอยู่ในสถานที่ที่ไม่สะอาดถูกสุขอนามัย ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะให้เกิดโรคง่ายขึ้น ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ เครียด นอนไม่ค่อยหลับ รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่ค่อยออกกำลังกาย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องเข้ารับเคมีบำบัด เป็นต้น

โรคงูสวัดเป็นโรคที่ไม่อันตราย สิ่งที่ห้ามคือการไปพ่นยาที่ใช้ในการเป่าเนื่องจากอาจติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่ม และไม่ควรรับประทานยาเขียวให้ขับออก หรือการใช้เสลดพังพอน สำหรับอาหารไม่มีข้อห้ามเป็นพิเศษ แต่ต้องรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ถูกสุขลักษณะ ไม่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หลีกเลี่ยงของหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มเติมได้ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด  ซึ่งสามารถช่วยป้องกันการสำแดงของโรคงูสวัด โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2006 โดยวัคซีนนี้มีความเข้มข้นสูงกว่าวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสถึง 14 เท่า ดังนั้นหากไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด แต่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสแทน นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจก่อนว่า ถึงแม้จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคงูสวัดได้ เพียงแต่อาการจะไม่รุนแรงเท่าคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด คือผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนเพราะผู้ป่วยสูงอายุจะมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป ระยะเวลาของอาการก็จะยาวนานหลายเดือน และอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ง่ายอีกด้วย การป้องกันไม่ให้เกิดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โรคงูสวัด : ภัยเงียบที่คุณควรรู้
โรคงูสวัด : ภัยเงียบที่คุณควรรู้
โรคงูสวัด ภัยเงียบที่คุณควรรู้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg0TCEZ4UT-78uuQ8SxZwnlufqt1RtFdnMYmLJaYY0rFIA9ufcDpeIeiXrpsp13Gl4qkHiXBV7fP8XlZ3PAho8aJK7cHeAHPllaZy5Z67qzHTqmRedk5NPjAcI7hjaSr7oLK30vJpViHIU/w320-h256/yinyang2021.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg0TCEZ4UT-78uuQ8SxZwnlufqt1RtFdnMYmLJaYY0rFIA9ufcDpeIeiXrpsp13Gl4qkHiXBV7fP8XlZ3PAho8aJK7cHeAHPllaZy5Z67qzHTqmRedk5NPjAcI7hjaSr7oLK30vJpViHIU/s72-w320-c-h256/yinyang2021.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2021/05/blog-post.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2021/05/blog-post.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy