แนวทางการรับมือกับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็ก
บทความโดย
ผศ.พญ.นันทวัน ปิยะภาณี
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ปัจจัยส่งเสริม
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
#ขอเชิญผู้ป่วยและประชาชนผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมอบรมโครงการรู้ทันมะเร็งเต้านมกับศิริราช ครั้งที่ 7หัวข้อ “ไขความจริง พิชิตมะเร็งเต้านม” ในวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562 เวลา 08.30 -16.30 น. ณ ห้องประชุมตรีเพ็ชร อาคารพระศรีฯ ชั้น 15 (สมัครฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย)ติดต่อลงทะเบียน และสอบถามได้ที่ โทร. 0 2419 4471-4 (ดลยา, สิริพร,พิมพกาญจน์ )
#ขอเชิญผู้ปกครองและนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมฟังการแนะนำหลักสูตรต่าง ๆ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประจำปีการศึกษา 2563ตลอดจนกระบวนการสอบคัดเลือกเข้าศึกษากิจกรรมการเรียนการสอน นันทนาการ ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตในวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562 เวลา 08.30-16.30 น. ณ อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 1-5สอบถามเพิ่มเติม ฝ่ายการศึกษา โทร. 0 24196410
ขอบคุณบทความดี ๆ จาก
ผู้จัดการออนไลน์
Reference
https://www.momjunction.com/articles/urinary-tract-infection-in-children_00391179/
ผศ.พญ.นันทวัน ปิยะภาณี
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะคือการติดเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้เกิดการอักเสบในระบบทางเดินปัสสาวะ พบได้ในเด็กเล็กและเด็กโต แบ่งได้เป็นการติดเชื้อทีไตและกรวยไต และการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งการติดเชื้อไตและกรวยไตซ้ำ ๆ อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ ความดันเลือดสูงและโรคไตเรื้อรัง
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการคั่งค้างของปัสสาวะร่วมกับการปนเปื้อนจุลินทรีย์ผ่านเข้าทางท่อปัสสาวะปัจจัยส่งเสริม
- ความผิดปกติของโครงสร้างทางเดินปัสสาวะ เช่น ภาวะปัสสาวะไหลย้อน (จากกระเพาะปัสสาวะสู่ท่อไต) และภาวะอุดกั้นในทางเดินปัสสาวะ
- ความผิดปกติในการบีบและคลายตัวของกระเพาะปัสสาวะ
- นิสัยการถ่ายปัสสาวะที่ไม่เหมาะสม
อาการของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็ก
- ทารกและเด็กเล็กส่วนใหญ่มักมีไข้ อาจร้องเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย กะปริบกะปรอย ปัสสาวะมีกลิ่นหรือสีผิดปกติ อาจมีอาเจียนหรืออุจจาระร่วงร่วมด้วย
- เด็กโตหากติดเชื้อที่ไตและกรวยไต มักมีไข้สูงปวดหลังหรือบั้นเอว หากมีกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักปวดท้องน้อย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด
การวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็ก
อาศัยการตรวจปัสสาวะที่เก็บโดยปราศจากการปนเปื้อน เด็กเล็กที่ยังควบคุมปัสสาวะไม่ได้ แพทย์อาจจำเป็นต้องใส่สายสวนเพื่อเก็บปัสสาวะส่งตรวจ เด็กที่ควบคุมการขับปัสสาวะได้ ให้ทำความสะอาดอวัยวะเพศ ซับให้แห้ง จากนั้นปัสสาวะส่วนต้นทิ้งเล็กน้อย แล้วเก็บปัสสาวะส่วนกลาง ปริมาณ 20-30 มล.การดูแลรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็ก
- การรักษาจำเพาะคือการให้ยาต้านจุลชีพรับประทาน หรืออาจต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลรับยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำหากอาการรุนแรง ผู้ป่วยควรได้น้ำอย่างเพียงพอ เด็กเล็กให้ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ เด็กโตควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว และรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง
- สำหรับเด็กอายุ 2 เดือนถึง 5 ปี ที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แนะนำให้ตรวจอัลตราซาวน์ระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อตรวจหาควรผิดปกติของไตและโครงสร้างระบบทางเดินปัสสาวะ
การป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็ก
- ฝึกสุขนิสัยในการขับถ่าย ท่าทางการขับถ่ายที่เหมาะสม เช่น ในเพศหญิงให้กางขาออกให้กว้างพอขณะถ่ายปัสสาวะ ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งให้ถ่ายออกจนสุดโดยไม่เร่งรีบ อาจกำหนดเวลาให้ถ่ายปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง ไม่ควรอั้นปัสสาวะเป็นเวลานานให้ปัสสาวะก่อนทำกิจกรรมที่ใช้เวลานานและก่อนเข้านอน
- ป้องกันท้องผูก โดยฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานผักผลไม้เป็นประจำ
- สอนการทำความสะอาดอวัยวะเพศ หลังการขับถ่าย เด็กผู้หญิงให้ทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อไม่ให้เชื้อโรคบริเวณรอบทวารหนักมาปนเปื้อนบริเวณท่อปัสสาวะ
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
#ขอเชิญผู้ป่วยและประชาชนผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมอบรมโครงการรู้ทันมะเร็งเต้านมกับศิริราช ครั้งที่ 7หัวข้อ “ไขความจริง พิชิตมะเร็งเต้านม” ในวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562 เวลา 08.30 -16.30 น. ณ ห้องประชุมตรีเพ็ชร อาคารพระศรีฯ ชั้น 15 (สมัครฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย)ติดต่อลงทะเบียน และสอบถามได้ที่ โทร. 0 2419 4471-4 (ดลยา, สิริพร,พิมพกาญจน์ )
#ขอเชิญผู้ปกครองและนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมฟังการแนะนำหลักสูตรต่าง ๆ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประจำปีการศึกษา 2563ตลอดจนกระบวนการสอบคัดเลือกเข้าศึกษากิจกรรมการเรียนการสอน นันทนาการ ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตในวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562 เวลา 08.30-16.30 น. ณ อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 1-5สอบถามเพิ่มเติม ฝ่ายการศึกษา โทร. 0 24196410
ขอบคุณบทความดี ๆ จาก
ผู้จัดการออนไลน์
Reference
https://www.momjunction.com/articles/urinary-tract-infection-in-children_00391179/