โรคมือเท้าปากเปื่อยภัยคุกคามเด็กวัยเรียน
บทความโดย
นพ.ศักดา ลายวิเศษกุล
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.bangkokhealth.com/health/article/กลุ่มอาการผื่นตามมือ-เท้า-และแผลในปาก-Hand-Foot-Mouth-Disease-2263
https://keepkidshealthy.com/2018/08/19/what-to-know-about-hand-foot-and-mouth-disease/
นพ.ศักดา ลายวิเศษกุล
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
กลุ่มอาการผื่นตามมือ เท้า และแผลในปาก (Hand Foot Mouth Disease) ใน ระยะนี้มีข่าวการระบาดของโรคผื่นตามมือ เท้า และแผลในปาก (หรือประชาชนทั่วไปจะเรียกจนติดปากว่า โรคมือเท้าปากเปื่อย) กำลังเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจไม่น้อย จึงถือโอกาสนี้นำข้อมูลของโรคดังกล่าวมาบอกเล่าถึงสาเหตุ อาการและการป้องกัน ดังนี้
สาเหตุของโรคมือเท้าปากเปื่อย
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักก่ออาการไม่รุนแรง มีเพียงส่วนน้อยมากที่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ (จึงไม่ต้องกังวลมากนะครับ) พบมีการระบาดได้บ่อยที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมอาการของโรคมือเท้าปากเปื่อย
หลังได้รับเชื้อประมาณ 4-6 วัน โดยผู้ป่วยจะมีไข้, ผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในช่องปาก เหงือก เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม แผลมักเจ็บปวด ทำให้รับประทานอาหารและน้ำได้น้อยลง น้ำลายไหล นอกจากนี้มักพบผื่นเป็นตุ่มแดงหรือตุ่มน้ำบนตุ่มแดงขนาดเล็กที่บริเวณหลัง มือ ฝ่ามือ หลังเท้า ฝ่าเท้า และบริเวณก้นได้ อาการมักหายไปเอง ภายใน 7-10 วัน อาการในเด็กโต และผู้ใหญ่มักไม่รุนแรง ผื่นดังกล่าวอาจมีน้อยหรือไม่มีก็ได้อาการแทรกซ้อน
มักพบหลังจาก 3-4 วันนับแต่มีอาการ ได้แก่ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, สมองอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้สูงมาก ซึมมาก พฤติกรรมเปลี่ยน กระสับกระส่าย ชักเกร็ง หัวใจเต้นเร็วมาก หอบ อาเจียนบ่อยครั้ง แขนขาอ่อนแรง ซึ่งควรนำส่งโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์โดยเร็วการติดต่อโรคมือเท้าปากเปื่อย
พบการระบาดจากคนสู่คนเท่านั้น โดยเชื้อจะแพร่ผ่านน้ำลาย เสมหะ หรืออุจาระของผู้มีเชื้อไปยังผู้รับเชื้อ โดยจะเริ่มมีเชื้อในน้ำลายหรือเสมหะ 2 - 3 วัน ก่อนมีอาการจนกระทั่ง 1-2 สัปดาห์ หลังมีอาการ และจะมีเชื้ออยู่ในอุจจาระหลายสัปดาห์การดูแลรักษาโรคมือเท้าปากเปื่อย
โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นเองใน 1 สัปดาห์ การรักษาเพียงรักษาประคับประคองตามอาการ โดยไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ (หรือยาแก้อักเสบ) ซึ่งได้แก่- ให้ยาแก้ไข้ และเช็ดตัว รับประทานอาหารและน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นจะเจ็บแผลที่ปากน้อยกว่า
- ให้ยาชาหยอดปากบรรเทาอาการเจ็บแผลในปาก เด็กบางคนรับประทานอาหารและน้ำไม่ได้ เพราะเจ็บแผลในปากมาก ไม่ยอมกลืนน้ำลายทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดทดแทน
- ดูแลความสะอาดในช่องปาก
- ให้ยาปฏิชีวนะถ้ามีการติดเชื้อซ้ำซ้อน
การป้องกันการติดต่อโรคมือเท้าปากเปื่อย
- แยกเด็กเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หากเป็นเด็กวัยเรียน ควรหยุดโรงเรียน 1 สัปดาห์ ตั้งแต่เริ่มมีผื่น
- ไม่ไอจามรดกัน ไม่ถ่มน้ำลายหรือบ้วนเสมหะลงที่สาธารณะะ
- ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย
- รับประทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำที่ผ่านการต้มหรือฆ่าเชื้อโดยผ่านแสงอุลตร้าไวโอเลตที่เพียงพอ
- ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.bangkokhealth.com/health/article/กลุ่มอาการผื่นตามมือ-เท้า-และแผลในปาก-Hand-Foot-Mouth-Disease-2263
https://keepkidshealthy.com/2018/08/19/what-to-know-about-hand-foot-and-mouth-disease/