โรคร้ายอะไรที่คร่าชีวิตคนไทยสูงสุด 5 อันดับ
เคยได้ยินคนอายุมากๆ บอกว่า “เราทำงานหนักเพื่อเก็บเงินไปให้หมอ” สมัยก่อนก็ไม่ค่อยเชื่อ แต่พอโตขึ้นก็พบว่า คำพูดนั้นมันจริง เพราะคนรอบตัวที่อายุมากขึ้น ค่อยๆ ทยอยตรวจเจอโรคร้ายที่แอบซ่อนอยู่ทีละโรค สองโรค แถมร่างกายก็อ่อนแอ ต้องไปพบหมอบ่อยกว่าลูกหลาน แถมค่าใช้จ่ายแต่ละที ก็ปาไปหลายพัน หลายหมื่น ดีหน่อยก็มีลูกมีหลานออกให้ แต่ถ้าแย่หน่อยก็ต้องเอาเงินเก็บ เงินบำเหน็จบำนาญที่น้อยแสนน้อยอยู่แล้วนั้น มาแบ่งให้หมอ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ มักอยู่เหนือการควบคุม และจะเกิดเมื่อไหร่ก็ได้ จะดีกว่ามั๊ย ถ้าเราเริ่มออมเงินตามแผนเดิม และมีแผนสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ที่จะมีช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายค่าพยาบาลเหล่านี้ได้
เพราะโรคร้ายแรงเหล่านี้มักเป็นโรคโรคร้ายที่แอบซ่อนตัวอยู่ กว่าจะตรวจพบบางรายก็อยู่ในขั้นร้ายแรง และคงไม่มีใครอยากจากไปก่อนเวลาอันควร แต่โรคร้ายมักแอบแฝงและคร่าชีวิตคนที่เรารักไปในเวลาอันสั้น แต่ค่าใช้จ่ายที่เราต้องแบกรับนั้นแปรผันกับค่ารักษาที่แสนจะแพง มาดูกันสิว่ามีโรคร้ายอะไรที่คร่าชีวิตคนไทยสูงสุด 5 อันดับ (สำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2556)
แล้วเราจะต้องหยอดกระปุกเพื่อเตรียมรักษาตัวเองจากโรคร้ายเท่าไหร่ถึงจะพอต่อค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น? (อ้างอิงจาก ระยะเริ่มต้นของโรคนั้นๆ หรือถูกที่สุดในการเข้ารักษา ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นการเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลรัฐบาล ซึ่งถ้ารักษาด้วยโรงพยาบาลเอกชนจะแพงขึ้นอีก 3-5 เท่า) จากข้อมูลพบว่า โดยเฉลี่ยเราต้องเตรียมเงินในการรักษาโรคร้ายขั้นต่ำ เริ่มต้นที่ 140,000 บาท การเก็บเงินจำนวนเท่านี้อาจไม่ใช่เรื่องยากสำหรับใครบางคน แต่ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเร็วกว่าที่เราจะเก็บเงินได้เท่านี้ละ ต้องทำอย่างไร “เพราะความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้เสมอ” เรามาเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน เพราะโรคทั้ง 5 นี้เป็นภัยเงียบที่แอบซ่อนอยู่ รอเพียงวันที่โรคร้ายจะปรากฏ ซึ่งไม่รู้ว่าวันนั้นจะเร็วหรือช้า และถ้าวันที่โรคร้ายเหล่านี้มาเคาะประตูอยู่ที่หน้าบ้านคุณ คุณจะเตรียมรับมืออย่างไร?
ขอบคุณ infographic.in.th
เพราะโรคร้ายแรงเหล่านี้มักเป็นโรคโรคร้ายที่แอบซ่อนตัวอยู่ กว่าจะตรวจพบบางรายก็อยู่ในขั้นร้ายแรง และคงไม่มีใครอยากจากไปก่อนเวลาอันควร แต่โรคร้ายมักแอบแฝงและคร่าชีวิตคนที่เรารักไปในเวลาอันสั้น แต่ค่าใช้จ่ายที่เราต้องแบกรับนั้นแปรผันกับค่ารักษาที่แสนจะแพง มาดูกันสิว่ามีโรคร้ายอะไรที่คร่าชีวิตคนไทยสูงสุด 5 อันดับ (สำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2556)
- โรคมะเร็ง (มีผู้เสียชีวิต 67,692 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 7.73 คน)
- โรคหลอดเลือดสมองแตก (มีผู้เสียชีวิต 28,408 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 3.24 คน)
- ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง (มีผู้เสียชีวิต 24,597 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 2.81 คน)
- โรคปอดระยะสุดท้าย (มีผู้เสียชีวิต 21,676 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 2.47 คน)
- ไตวายเรื้อรัง (มีผู้เสียชีวิต 15,162 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 1.73 คน)
แล้วเราจะต้องหยอดกระปุกเพื่อเตรียมรักษาตัวเองจากโรคร้ายเท่าไหร่ถึงจะพอต่อค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น? (อ้างอิงจาก ระยะเริ่มต้นของโรคนั้นๆ หรือถูกที่สุดในการเข้ารักษา ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นการเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลรัฐบาล ซึ่งถ้ารักษาด้วยโรงพยาบาลเอกชนจะแพงขึ้นอีก 3-5 เท่า) จากข้อมูลพบว่า โดยเฉลี่ยเราต้องเตรียมเงินในการรักษาโรคร้ายขั้นต่ำ เริ่มต้นที่ 140,000 บาท การเก็บเงินจำนวนเท่านี้อาจไม่ใช่เรื่องยากสำหรับใครบางคน แต่ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเร็วกว่าที่เราจะเก็บเงินได้เท่านี้ละ ต้องทำอย่างไร “เพราะความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้เสมอ” เรามาเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน เพราะโรคทั้ง 5 นี้เป็นภัยเงียบที่แอบซ่อนอยู่ รอเพียงวันที่โรคร้ายจะปรากฏ ซึ่งไม่รู้ว่าวันนั้นจะเร็วหรือช้า และถ้าวันที่โรคร้ายเหล่านี้มาเคาะประตูอยู่ที่หน้าบ้านคุณ คุณจะเตรียมรับมืออย่างไร?
ขอบคุณ infographic.in.th