อาการชาตามปลายมือปลายเท้าเป็นสัญญาณอะไร
บทความโดย
- ภญ.นันทิยา ฤทธิ์เดช
- ฝ่ายเภสัชกรรมศาสตร์
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
อาการมือเท้าชาสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากการนั่งหรือยืนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ทั่วถึง อาจเกิดจากมีระดับแร่ธาตุและวิตามินผิดปกติ2 หรืออาจมีสาเหตุจากโรคบางโรค เช่น โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท งูสวัด เบาหวาน ปวดศีรษะไมเกรน ลมชัก หลอดเลือดสมอง และ Raynaud's phenomenon เป็นต้น นอกจากนี้อาการชายังเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อยจากการใช้ยาเคมีบำบัดหรือฉายรังสี3-5
ในกรณีที่รู้สาเหตุของอาการมือเท้าชา จะรักษาตามสาเหตุนั้นๆ เช่น มือเท้าชาที่เกิดจากโรคเบาหวาน โดยอาการชานี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่แสดงถึงภาวะของโรคเบาหวานที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานหากจะบรรเทาหรือรักษาอาการชาก็ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม6-7 แต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาสาเหตุของมือเท้าชาได้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อหาสาเหตุของอาการชาและทำการรักษาหรือป้องกัน เพราะหากเกิดอาการชาบ่อยขึ้นหรือมีอาการชามากขึ้นแล้วปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่หาสาเหตุและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นจนอาจไม่มีความรู้สึกเลย ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหรือบาดแผลได้ง่ายขึ้น เช่น หากเท้าเหยียบตะปูหรือมือถูกของร้อน จะไม่ชักเท้าหนีจากตะปูหรือชักมือหนีจากของร้อน ทำให้เท้าและมือเป็นแผลได้ง่าย ซึ่งต่างจากคนปกติที่จะมีปฏิกิริยาการตอบสนองที่รวดเร็ว โดยจะรีบชักเท้าหนีจากตะปูหรือชักมือหนีจากของร้อนทันที ดังนั้นจึงต้องระวังการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดแผลจากของมีคม ของร้อนหรืออันตรายจากสิ่งอื่น
ถึงแม้อาการมือเท้าชาจะเป็นอาการเล็กน้อยสำหรับบางคน แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะหรือโรคที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะหากมีอาการชาบ่อยขึ้นหรือรุนแรงขึ้น จึงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาก่อนที่โรคจะรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นเมื่อเกิดอาการ “มือเท้าชา” อย่าเพิ่งวางใจ หากสามารถหาสาเหตุของโรคได้เร็วและถูกต้อง ย่อมได้รับผลการรักษาที่ดีและป้องการการเกิดภาวะของโรคที่รุนแรงยิ่งขึ้นได้ และที่สำคัญเมื่อเกิดอาการชาขึ้นแล้ว ควรระมัดระวังการเกิดบาดแผล สวมรองเท้าเมื่อออกไปเดินนอกบ้านหรืออยู่ในที่รก หมั่นสังเกตและดูแลรักษามือและเท้าอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและหากเกิดบาดแผลจะสามารถรักษาแผลได้อย่างทันท่วงที
เอกสารอ้างอิง
- ภญ.นันทิยา ฤทธิ์เดช
- ฝ่ายเภสัชกรรมศาสตร์
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
“ชาตามปลายมือปลายเท้า” หลายคนอาจเคยเกิดอาการนี้ บางคนมีอาการเพียงชั่วครู่ บางคนมีอาการนานกว่านั้นและความถี่ของอาการที่ว่านี้ก็ต่างกันออกไปในแต่ละคน ซึ่งอาการ “ชา” นี้เป็นอาการทางระบบประสาท แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญ แต่ในระยะแรกๆ มักไม่รบกวนชีวิตของผู้ป่วยมากเท่ากับอาการปวด แต่ก็เป็นสัญญาณหนึ่งของร่างกายที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบประสาท ดังนั้นควรหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขอาการ ก่อนที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างอื่นตามมาอาการชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่นิ้ว มือ แขน เท้าหรือขา เป็นอาการที่มีความรู้สึกเจ็บ ปวด ร้อน หรือเย็นน้อยกว่าปกติหรือไม่มีความรู้สึกเลย บางคนอาจรู้สึกซ่าๆ ที่ปลายมือปลายเท้าหรือบริเวณอื่นหรือมีอาการเหมือนมีอะไรยุบยิบๆ ตามปลายมือปลายเท้า แล้วก็หายไปหรือเป็นตลอด ซึ่งอาการชาจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทส่งความรู้สึกของบริเวณที่เป็นทำงานบกพร่องไปแล้วอย่างน้อย 50% โดยถ้าเส้นประสาทส่งความรู้สึกทำงานบกพร่องไปอย่างช้าๆ อาจไม่รู้สึกถึงความผิดปกติและมักตรวจพบได้ยาก แต่ถ้าเกิดการบกพร่องไปอย่างรวดเร็วจะเกิดอาการที่ชัดเจน1
อาการมือเท้าชาสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากการนั่งหรือยืนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ทั่วถึง อาจเกิดจากมีระดับแร่ธาตุและวิตามินผิดปกติ2 หรืออาจมีสาเหตุจากโรคบางโรค เช่น โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท งูสวัด เบาหวาน ปวดศีรษะไมเกรน ลมชัก หลอดเลือดสมอง และ Raynaud's phenomenon เป็นต้น นอกจากนี้อาการชายังเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อยจากการใช้ยาเคมีบำบัดหรือฉายรังสี3-5
ในกรณีที่รู้สาเหตุของอาการมือเท้าชา จะรักษาตามสาเหตุนั้นๆ เช่น มือเท้าชาที่เกิดจากโรคเบาหวาน โดยอาการชานี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่แสดงถึงภาวะของโรคเบาหวานที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานหากจะบรรเทาหรือรักษาอาการชาก็ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม6-7 แต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาสาเหตุของมือเท้าชาได้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อหาสาเหตุของอาการชาและทำการรักษาหรือป้องกัน เพราะหากเกิดอาการชาบ่อยขึ้นหรือมีอาการชามากขึ้นแล้วปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่หาสาเหตุและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นจนอาจไม่มีความรู้สึกเลย ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหรือบาดแผลได้ง่ายขึ้น เช่น หากเท้าเหยียบตะปูหรือมือถูกของร้อน จะไม่ชักเท้าหนีจากตะปูหรือชักมือหนีจากของร้อน ทำให้เท้าและมือเป็นแผลได้ง่าย ซึ่งต่างจากคนปกติที่จะมีปฏิกิริยาการตอบสนองที่รวดเร็ว โดยจะรีบชักเท้าหนีจากตะปูหรือชักมือหนีจากของร้อนทันที ดังนั้นจึงต้องระวังการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดแผลจากของมีคม ของร้อนหรืออันตรายจากสิ่งอื่น
ถึงแม้อาการมือเท้าชาจะเป็นอาการเล็กน้อยสำหรับบางคน แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะหรือโรคที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะหากมีอาการชาบ่อยขึ้นหรือรุนแรงขึ้น จึงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาก่อนที่โรคจะรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นเมื่อเกิดอาการ “มือเท้าชา” อย่าเพิ่งวางใจ หากสามารถหาสาเหตุของโรคได้เร็วและถูกต้อง ย่อมได้รับผลการรักษาที่ดีและป้องการการเกิดภาวะของโรคที่รุนแรงยิ่งขึ้นได้ และที่สำคัญเมื่อเกิดอาการชาขึ้นแล้ว ควรระมัดระวังการเกิดบาดแผล สวมรองเท้าเมื่อออกไปเดินนอกบ้านหรืออยู่ในที่รก หมั่นสังเกตและดูแลรักษามือและเท้าอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและหากเกิดบาดแผลจะสามารถรักษาแผลได้อย่างทันท่วงที
เอกสารอ้างอิง
- Aminoff MJ, Asbury AK. Numbness, tingling, and sensory loss. In: Fauci AS, Braunwald E, Kasper DL, Hauser SL, Longo DL, Jameson JL, et al, editors. Harrison’s principles of internal medicine, 17th ed. New York: McGraw-Hill; 2008; 154-8.
- McLeod JG. Investigation of peripheral neuropathy. J Neurol Neurosurg Psychiatry 1995; 58:274-83.
- nlm.nih.gov[Internet]. MedlinePlus A service of the U.S. National Library of Medicine National Institutes of Health. [updated 2013 May 4; cited 2014 Nov 20]. Available from:http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003206.htm.
- Lacy CF, Armstrong LL, Goldman PP, Lance LL. Drug information handbook with international trade names index. 21th ed. Ohio: Lexi-comp; 2012-2013.
- Hughes RA. Peripheral neuropathy. BMJ. 2002; 324:466-469.
- Triplitt CL, Reasner CA. Diabetes mellitus. In: Dipiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM, editors. Pharmacotherapy: A Pathophysiologic Approach, 8th ed. New York:McGraw-Hill; 2011; 1255-302.
- Dyck PJ, Kratz KM, Karnes JL, Litchy WJ, Klein R, Pach JM, et al. The prevalence by staged severity of various types of diabetic neuropathy, retinopathy, and nephropathy in a population-based cohort: the Rochester Diabetic Neuropathy Study. Neurology. 1993; 43:817-824.
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]