การรับประทานสดกับปรุงสุกให้ผลต่างกันอย่างไร ตอน เอ็นไซม์กับผักผลไม้สด

เอ็นไซม์สำคัญอย่างไรและถูกทำลายได้จากอะไรบ้าง

เอ็นไซม์ในผักผลไม้สดสำคัญอย่างไรและถูกทำลายได้จากอะไรบ้าง

บทความโดย
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. พิสมัย กุลกาญจนาธร
ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เอ็นไซม์เป็นโปรตีนโมเลกุลใหญ่ ซึ่งจะถูกทำลายโดยความร้อน และจะทำงานช้าหรือหยุดการทำงานในสภาวะเย็นจัดถึงแช่แข็ง การแช่เย็นจึงเป็นการถนอมอาหาร และช่วยคงลักษณะภายนอกของอาหารได้นานขึ้น อาหาร (เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้) ปรุงสุกโดยผ่านความร้อน เอ็นไซม์ที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้จะถูกทำลายหมด
         การสร้างพลังงานจากสารอาหารในสิ่งมีชีวิต เรียกว่ากระบวนการเมตาบอลิซึม (metabolism) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนสารที่ร่างกายได้รับจากอาหาร โดยย่อยสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลง ดูดซึมและเปลี่ยนเป็นพลังงานไปยังเซลล์ที่ต้องการ เพื่อการดำรงชีวิต ปฏิกิริยาเคมีนี้จะต้องมีเอนไซน์ (enzyme) เป็นตัวเร่ง เอนไซน์ในสิ่งมีชีวิตมีมากมายมากกว่าพันชนิด และมีความจำเพาะต่อแต่ละปฏิกริยา โดยเอ็นไซม์จะทำงานร่วมกับวิตามินและธาตุพบน้อยที่จำเป็นต่อร่างกาย ที่เรียกว่า โคเอ็นไซม์ (coenzyme) นอกจากนี้เอ็นไซม์ยังทำหน้าที่ในการซ่อมแซม ควบคุม และกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆของร่างกายด้วย กล่าวได้ว่าทุกกลไกในสิ่งมีชีวิต(คน สัตว์และพืช) ล้วนต้องอาศัยการทำงานของเอนไซม์ทั้งสิ้น
          ในภาวะปกติร่างกายของคน สามารถผลิตเอนไซม์ได้ เอ็นไซม์จะทำหน้าที่ย่อยสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลง ดูดซึมผ่านทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสโลหิต ไปยังเซลล์ที่ต้องการ ร่างกายจะใช้พลังงานจากสารอาหาร(ที่ย่อยแล้ว) ในการสร้างกล้ามเนื้อกระดูก ต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน เส้นประสาทและระบบประสาท และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ไปจนถึงการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย แต่เมื่อเจ็บป่วย หรือเกิดภาวะทุโภชนา หรือได้รับสารอาหารไม่เหมาะสม หรืออายุที่มากขึ้น หรือเกิดความเครียด จะมีผลให้การสร้างเอนไซม์ลดลง การย่อยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนไม่สมบูรณ์ ทำให้ร่างกายขาดสารให้พลังงานที่จำเป็น เกิดภาวะร่างกายอ่อนแอ อ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังเกิดการหมักและเน่าเสียของอาหารในลำไส้ ทำให้ท้องผูก มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ลมหายใจมีกลิ่น และมีความเสี่ยงต่อมะเร็งทางเดินอาหาร
          เอ็นไซม์เป็นโปรตีนโมเลกุลใหญ่ ซึ่งจะถูกทำลายโดยความร้อน และจะทำงานช้าหรือหยุดการทำงานในสภาวะเย็นจัดถึงแช่แข็ง การแช่เย็นจึงเป็นการถนอมอาหาร และช่วยคงลักษณะภายนอกของอาหารได้นานขึ้น อาหาร (เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้) ปรุงสุกโดยผ่านความร้อน เอ็นไซม์ที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้จะถูกทำลายหมด โดยปกติอาหารสด จะยังมีเอ็นไซม์ที่ยังทำการย่อยสารโมเลกุลใหญ่ๆ (ในตัวมันเอง)ได้ เมื่อวางทิ้งไว้ในสภาวะปกติ จึงมีการเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอก สำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นโปรตีนโมเลกุลใหญ่ เอ็นไซม์ในเนื้อสัตว์นั้นจะทำงานได้ แต่จุลินทรีซึ่งก็มีเอ็นไซม์จะมาร่วมการย่อย/หมักและทำงานได้เร็วกว่า เกิดการเน่า/เสีย อาหารโปรตีนจึงเน่า/เสียง่าย ในผัก ผลไม้สดจะมีเอ็นไซม์ ที่ย่อยตัวเอง และยังคงจะได้สารอาหารที่มีประโยชน์ได้อีกระยะหนึ่ง(ช้าหรือเร็ว ขึ้นกับชนิดของผัก ผลไม้นั้น) ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ผัก ผลไม้ ไม่เน่าเสียทันที่ที่หลุดจากต้น โดยผลไม้จะแก่/สุกขึ้น บางชนิดหวานขึ้น เพราะมีการย่อยสลายแป้งเป็นน้ำตาล และจะเน่า/เสียช้ากว่าเนื้อสัตว์ เอ็นไซม์จากผัก ผลไม้สดจึงมีประโยชน์กว่าในเนื้อสัตว์ และจะช่วยการย่อยอาหารในทางเดินอาหารของคนได้ นี่คงเป็นสาเหตุที่ทำให้การกินอาหารเนื้อสัตว์มาก ๆ จะอึดและแน่นท้องมากกว่าการกินอาหารผัก ผลไม้สด
          จึงควรกินผักและผลไม้สดเป็นประจำ หรือให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 มื้อ อาหารเคียงผักสด เป็นอาหารที่หาได้ง่าย เช่น ส้มตำ น้ำพริกผักสด สลัดผัก เมี่ยงคำ น้ำยาผักเคียง ส่วนผลไม้ก็หาง่าย ควรเป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัด เนื่องจากน้ำตาลทำให้เซลล์ร่างกายอ่อนแอ นอกจากนี้ การกินผัก ผลไม้สดจะได้รับเส้นใยไฟเบอร์ ซึ่งจะเป็นกากอาหารที่ช่วยเรื่องการขับถ่าย ทำให้มีสุขภาวะที่ดีและลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับสารก่อมะเร็ง(ถ้ามีในอาหารตกค้าง)ในทางเดินอาหารเป็นเวลานาน ๆ
          เราควรมีชีวิตอยู่แบบธรรมชาติมากที่สุด ปล่อยให้ร่างกายเป็นไปตามความเป็นจริง อย่ามีความสุขกับการปรุงแต่ง บิดเบือนด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เพราะนั่นจะสิ้นเปลืองและไม่ยั่งยืน
"กิน ผัก ผลไม้สดทุกมื้อ เพื่อเพิ่มพลังงานให้ร่างกายกันเถอะ"

บทความต้นฉบับ
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: การรับประทานสดกับปรุงสุกให้ผลต่างกันอย่างไร ตอน เอ็นไซม์กับผักผลไม้สด
การรับประทานสดกับปรุงสุกให้ผลต่างกันอย่างไร ตอน เอ็นไซม์กับผักผลไม้สด
เอ็นไซม์สำคัญอย่างไรและถูกทำลายได้จากอะไรบ้าง
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7ZU-mZEMJtca6GhyS7bWx2lQbrcFtaEeoFwUNCf3sf2ZJPn8SyUqGkqrwDkay8enxbAjk19LZMFpAeHSYMILF98L78TkXje0fujZHFSVPm-w5UFrT_7WaDV-hFJH92vxzgP5yXrepO2M/s320/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%258C+%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2594.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7ZU-mZEMJtca6GhyS7bWx2lQbrcFtaEeoFwUNCf3sf2ZJPn8SyUqGkqrwDkay8enxbAjk19LZMFpAeHSYMILF98L78TkXje0fujZHFSVPm-w5UFrT_7WaDV-hFJH92vxzgP5yXrepO2M/s72-c/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%258C+%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2594.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_71.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_71.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy