โรคลิ่มเลือดอุดตันปอด

วิธีการป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดตันปอด


บทความโดย
นพ.นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์
แหล่งที่มา HealthToday Magazine, No.213 January 2019
ลิ่มเลือดอุดตันปอดเป็นโรคที่มีความสำคัญ เพราะทำให้ตายได้ เมื่อก่อนคิดว่าเป็นโรคที่พบในฝรั่งเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้พบบ่อยขึ้นในคนไทย
          ลิ่มเลือดอุดตันปอด ภาษาแพทย์เรียกว่า pulmonary embolism (พุล-โม-นารี-เอ็ม-โบ-ลิ-ซึ่ม) ภาษาอังกฤษชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า blood clot in the lung คำว่า pulmonary แปลว่า ปอด ส่วนคำว่า embolism หมายความถึงลิ่มเลือดที่เกิดจากที่อื่นไหลลอยมาอุดตันหลอดเลือดแดงปอด (pulmonary artery)

ระบบไหลเวียนเลือด

          ปกติระบบไหลเวียนเลือดของเราประกอบด้วยหัวใจห้องซ้ายสูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายทางหลอดเลือดแดง แล้วไหลกลับมาเป็นเลือดดำซึ่งมีออกซิเจนต่ำแต่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงทางหลอดเลือดดำ ซึ่งมีสาขารวมกันไหลไปเข้าสู่หัวใจห้องขวาที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเข้าไปผ่านปอดทางหลอดเลือดแดงปอด (pulmonary artery) เพื่อการฟอกเลือดแลกเปลี่ยนเอาคาร์บอนไดออกไซด์จากหลอดเลือดไปแลกกับออกซิเจนจากถุงลมของปอด ทำให้เลือดมีออกซิเจนสูงขึ้นแล้วไหลไปเข้าหัวใจห้องซ้ายซึ่งจะฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายต่อไป เป็นอันครบวงจร

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันปอด

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันปอดเกิดจากลิ่มเลือด (thrombus) ที่เกิดขึ้นจากที่อื่น ซึ่งส่วนมากเกิดในหลอดเลือดดำลึกของขา (deep vein thrombosis, DVT) หรือในช่องเชิงกราน (pelvic vein) ลิ่มเลือดนี้หลุดไหลลอยไปอุด หลอดเลือดแดงปอด (pulmonary artery) ทำให้เลือดไหลเข้าปอดไม่สะดวกหรือไม่ได้ มีผลให้หัวใจห้องขวาทำงานหนัก และเลือดดำไม่ได้รับการฟอกโดยปอด ทำให้เลือดขาดออกซิเจน ถ้าเป็นการอุดตันไม่มากก็พอทนอยู่ได้ แต่ถ้าเป็นมาก (ลิ่มเลือดก้อนใหญ่) หัวใจจะวายฉับพลัน ทำให้คนไข้ถึงตายได้

กลุ่มเสี่ยงภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำลึกที่ขา ได้แก่

  • เคยมีภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำลึกที่ขาหรือมีลิ่มเลือดอุดตันปอดมาก่อน
  • คนไข้ที่ต้องเข้าเฝือกหรือจำกัดการเคลื่อนไหว เช่น กระดูคอหักต้องนอนดึงคออยู่นาน
  • ผู้หญิงที่ใช้ฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนทดแทน (วัยหมดระดู)
  • ผู้ที่มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันในครอบครัว
  • ผู้สูงอายุ มีลิ้นหลอดเลือดดำเสื่อมสภาพ
  • คนไข้มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งตับอ่อน สมอง ต่อมน้ำเหลือง และปอด รวมทั้งคนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัด
นอกจากนี้ยังมีภาวการณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำลึกที่ขา คือ
  • การนั่งนอนนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ๆ เช่น คนมีนิสัยไม่ขยัน หรือคนที่โดยสารเครื่องบินเป็นเวลานาน
  • คนที่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน ๆ หรือคนที่เข้ารับการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งต้องนอนนาน ๆ นอกจากนี้คนไข้ที่มีการบาดเจ็บที่ขาหรือเชิงกราน เช่น การแตกหักของกระดูก การผ่าตัดกระดูกขา ข้อสะโพก ข้อเข่า ฯลฯ มีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกของขาได้
          การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำลึกที่ขาจะค่อย ๆ เกิดขึ้นแล้วพัฒนาจากเล็กไปใหญ่ ตอนแรกมักจะไม่มีอาการใด ๆ แต่เมื่อเป็นมากขึ้นจึงมีอาการ เช่น บวม แดง ปวดบวมที่ข้อเท้า ที่ขา ที่น่อง บางคนมีไข้บาง คนบ่นว่าเป็นตะคริวที่น่อง ตามสถิติพบว่าครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำลึกที่ขามีภาวะลิ่มเลือดอุดตันปอดโดยไม่มีอาการทางปอดให้เห็น เช่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ

อาการภาวะลิ่มเลือดอุดตันปอด

          อาการลิ่มเลือดอุดตันปอดขึ้นอยู่กับว่าปอดถูกอุดตันส่วนไหนและมากน้อยเพียงไร มีคนไข้หลายรายที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่ชัด แต่ในทางตรงข้าม บางรายก็มีอาการเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและเฉียบพลันที่ต้องรักษารีบด่วน อาการของโรคลิ่มเลือดอุดตันปอดมักจะมีดังนี้
  • อยู่ ๆ ก็มีอาการหอบเหนื่อย ซึ่งอาจจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบฉับพลันก็ได้ ไม่ว่าในขณะนั้นคุณกำลัง พักผ่อนหรือออกกำลังกาย
  • เจ็บหน้าอกแบบแหลมคมรุนแรงเวลาหายใจลึกหรือไอ
  • รู้สึกเวียนหัวหรือจะเป็นลม
  • หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นไม่เป็นจังหวะ เหงือแตก ฝ่ามือเปียก สีผิวคล้ำลง

การวินิจฉัยและการรักษา

          การวินิจฉัยโรคลิ่มเลือดอุดตันปอดอาจจะทำได้ยากเนื่องจากในตอนแรกมีอาการน้อย ไม่ชัด ในกรณีที่มีอาการมากอาจจะไปคล้ายกับอาการหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย หรือปอดอักเสบ การวินิจฉัยต้องค่อย ๆ แยกโรคอื่นออกไปโดยใช้การตรวจเพิ่มและใช้เช็คลิสต์
          การตรวจเลือดช่วยทำให้การแยกโรคแคบลง  ร่วมกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของทรวงอกจะช่วยให้วินิจฉัยแยกโรคได้ชัดเจนขึ้น หลังจากวินิจฉัยได้แล้วแพทย์จะรีบรักษาจนภาวะวิกฤตทุเลาลง แล้ ทำการหาสาเหตุหรือต้นตอของ ลิ่มเลือด
          การรักษาในเบื้องต้น แพทย์จะให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อทำให้ลิ่มเลือดไม่เพิ่มจำนวนมากขึ้นและไม่หลุดออกง่าย เริ่มแรกจะให้ยาทางหลอดเลือด (เช่น heparin) ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นยากิน (เช่น warfarin) ปัจจุบันนี้มียาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดใหม่ ๆ ในตลาดมากมาย เช่น apixaban, dabigatran, edoxaban และ rivaroxaban ยาจำพวกนี้เวลาให้ต้องมีการตรวจติดตามเฝ้าระวังโดยแพทย์ เพราะเป็นยาอันตราย ส่วนมากต้องให้ยานาน 3 – 6 เดือน หรือบางรายต้องให้ตลอดไป
          ในบางกรณีที่ลิ่มเลือดในปอดต้องได้รับการละลาย เช่น มีอาการมาก เขาอาจจะใช้เอ็นไซม์ละลายลิ่มเลือด หรือ ในรายที่กินยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่ได้จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็จำเป็นต้องทำหัตถการใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดดำใหญ่ที่ไหลเข้าหัวใจ (inferior venacava) เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดจากด้านล่างไหลลอยเข้าปอด บางกรณีที่วิกฤตมากอาจจะใช้วิธีสุดท้ายคือ การผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดตันปอดที่ดีคือ การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำลึก ดังนี้

  •  ออกกำลังเคลื่อนไหวขาไม่ให้อยู่นิ่งนาน ๆ, การใส่ถุงน่อง (ถุงน่องที่ดีต้องวัดตัดมาเป็นพิเศษซึ่งราคาแพง), การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น ในการผ่าตัดใหญ่)
  • การนั่งเครื่องบินระยะทางไกล ควรป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำลึกโดยการลุกเดินบ่อย ๆ หรือนั่งออกกำลังขา เช่น เคลื่อนไหวข้อเท้าไปมา จิกปลายเท้าเคลื่อนขึ้นลง (การหดเกร็งกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อขา ช่วยให้เลือดดำที่ขาไหลเวียนดีขึ้น ไม่อยู่นิ่งจนกลายเป็นลิ่มเลือด)
          นอกจากนี้ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าปล่อยตัวเองให้ขาดน้ำ งดเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ สวมถุงน่อง กินแอสไพรินขนาดต่ำ บางกรณีที่มีความเสี่ยงสูงจริง ๆ หมอจะให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อป้องกัน

ขอบคุณที่มาบทความ  www.healthtodaythailand.in.th
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]

Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โรคลิ่มเลือดอุดตันปอด
โรคลิ่มเลือดอุดตันปอด
วิธีการป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดตันปอด
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgnApcftHEP-Uet4fNJvqxF0GNwHR7_9qe9zV4mOyrXo875Sfq1IdL0R03lQ-iiw7VYO4aj9-68oXflwT6mgOt_fBzYThl-konPgZ_YAomngRdZN6-2M4CKMl-8VgOwyFQn2NKpvDRj9JQ/s320/%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B4%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25940.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgnApcftHEP-Uet4fNJvqxF0GNwHR7_9qe9zV4mOyrXo875Sfq1IdL0R03lQ-iiw7VYO4aj9-68oXflwT6mgOt_fBzYThl-konPgZ_YAomngRdZN6-2M4CKMl-8VgOwyFQn2NKpvDRj9JQ/s72-c/%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B4%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25940.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_44.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_44.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy