ท้องเสียอย่างรุนแรงมีไข้สูง เข้าสู่ภาวะช๊อคได้
บทความโดย
นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ
โรคท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกว่า antibiotic-associated diarrhea เป็นโรคที่พบได้ประปรายในเวชปฏิบัติ และเป็นโรคที่มีความรุนแรงแตกต่างกันได้มาก ใน ร่างกายของคนปกติ จะพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดอาศัยอยู่ในลำไส้ ซึ่งถือว่าเป็นจุลชีพเฉพาะถิ่น เชื้อพวกนี้อาศัยอยู่ในลำไส้โดยไม่ได้ก่อให้เกิดโรคแต่อย่างใด บางชนิดยังช่วยทำให้หน้าที่บางอย่างให้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็อาจพบการลุกลามของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งความรุนแรงของโรคอาจมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่แล้วการลุกลามของเชื้อโรคไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เนื่องจากในภาวะปกติร่างกายจะมีกลไกที่สามารถควบคุมเชื้อจุลชีพเฉพาะถิ่นไม่ ให้เจริญเติบโตมากเกินไปแต่เมื่อกินยาปฏิชีวนะ สมดุลของร่างกายจะเปลี่ยนไป เนื่องจากยาปฏิชีวนะจะทำลายแบคทีเรียที่เป็นจุลชีพเฉพาะถิ่นในลำไส้ ยาปฏิชีวนะจะทำลายเชื้อแบคทีเรียไปเป็นจำนวนมาก และก่อให้เกิดภาวะเสียสมดุลของจุลชีพในลำไส้ ส่วนใหญ่ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นแค่อาการเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลว ซึ่งอาการถ่ายเหลวจะหายไปหลังจากหยุดยาปฏิชีวนะไม่นาน แต่ก็มีบางครั้งที่ยาปฏิชีวนะทำลายเชื้อแบคทีเรียไปมาก จนกระทั่งทำให้แบคทีเรียสายพันธุ์ที่ก่อโรคบางชนิดแบ่งตัวแพร่กระจายโดยร่างกายไม่สามารถควบคุมได้
เชื้อแบคทีเรียที่สำคัญชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า Clostridium difficile (C. difficile) สามารถเจริญเติบโตได้ดีมากในลำไส้แบคทีเรียชนิดนี้ สร้างสารทำลายผนังลำไส้ และทำให้ลำไส้อักเสบ ภาวะลำไส้อักเสบนี้เรียกว่า colitis อาการท้องเสียเป็นน้ำจะเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง และมีไข้ต่ำ ๆ อาจถ่ายเหลวจนกระทั่งผู้ป่วยตกอยู่ในภาวะขาดสารน้ำในร่างกาย ในบางรายเชื้อแบคทีเรียทำ ให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญสองชนิด ชนิดเแรกเรียกว่า pseudomembranous colitis โดยเกิดเป็นพังผืดที่ผนังลำไส้ที่อักเสบ ชนิดที่สอง อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้ทะลุได้ซึ่งเป็นอันตรายมาก
เชื้อแบคทีเรีย C. difficile จะ อาศัยอยู่ในลำไส้ ได้ในภาวะปกติ ร้อยละ 5 พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในโรงพยาบาลและสถานสงเคราะห์คนชรา อาจพบการกระจายของเชื้อจากผู้ป่วยรายหนึ่งไปยังคนอื่น ๆ ได้ การติดเชื้อของแบคทีเรียที่ชื่อ C. difficile เกิดจากการที่ไม่ได้ล้างมือให้ดี การใช้ห้องน้ำ หรือแพร่เชื้อผ่านทางโถส้วม ถาดอุจจาระ ผู้ป่วยในโรงพยาบาลจะพบมีเชื้อนี้อยู่ในลำไส้ประมาณร้อยละ 20 เมื่อได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จะเกิดการลุกลามของเชื้อ C. difficile ยาปฏิชีวนะที่พบว่าเป็นสาเหตุ ได้แก่ คลินดามัยซิน clindamycin (Cleocin) แอมปิซิลลิน ampicillin และเศฟาโลสปอริน cephalosporins โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เศฟาเล็กซิน cephalexin (Keflex)
อาการของโรค
อาการท้องเสียเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะ เนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ เมื่อหยุดยาปฏิชีวนะที่เป็นสาเหตุ อาการต่าง ๆ จะทุเลาน้อยลง และหายไปในเวลา 2-3 วัน ในกรณีที่อาการรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายเหลว ปวดมวนท้อง กดเจ็บที่บริเวณหน้าท้อง อุจจาระมีมูกเลือดปนออกมา บางรายอาจมีไข้ก่อนที่จะเริ่มท้องเสียก็ได้ และยังพบว่าบางรายผู้ป่วยปรากฏอาการถ่ายเหลวหลังจากที่หยุดยาปฏิชีวนะไปแล้วการวินิจฉัยโรค
โรคท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ สามารถ ให้การวินิจฉัยได้จากประวัติอาการที่ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาในกลุ่มคลินดามัยซิน, แอมปิซิลลิน และเศฟาโลสปอริน อาการถ่ายเหลวที่เกิดขึ้นอาจมากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงของโรค การตรวจอุจจาระไม่พบหลักฐานของการติดเชื้อ หรือเชื้อก่อเหตุแต่อย่างใด การตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจพิจารณาตรวจหาเชื้อ C. difficile หรือตรวจแอนติบอดี้ต่อเชื้อนี้แนวทางการรักษา
ผู้ป่วยโรคท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ อาจแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก อาการไม่รุนแรง และกลุ่มที่สอง อาการรุนแรง- ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง หลักการรักษาเหมือนกับโรคท้องเสียทั่วไป ที่สำคัญ ได้แก่ การทดแทนสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายที่สูญเสียไปกับอุจจาระ ทั้งนี้อาจพิจารณาใช้ผงเกลือแร่หรือสารอิเล็กโตรลัยต์ที่มีสัดส่วนเหมาะสม พิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดหากมีข้อบ่งชี้ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารแป้งและผลิตภัณฑ์นม ในระยะสองสามวันแรก รวมทั้งอาหารที่มีกากปริมาณมาก การใช้ยาแก้ท้องเสียในผู้ป่วยโรคท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากการใช้ยาแก้ท้องเสียบางครั้งอาจเกิดผลร้ายมากกว่าผลดี สาเหตุที่เป็นเช่นนนั้นสืบเนื่องมาจาก การที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย C. difficile รวมทั้งสารพิษที่เชื้อแบคทีเรีย C. difficile สร้างขึ้น ให้ออกมาทางอุจจาระได้
- ในกรณีที่อาการรุนแรง เช่น ท้องเสียจำนวนมากและไม่มีทีท่าว่าจะน้อยลง ผู้ป่วยเริ่มเข้าสู่ภาวะขาดสารน้ำและอิเล็กโตรลัยต์ขั้นรุนแรง หรือเริ่มเข้าสู่ภาวะช็อค แพทย์อาจพิจารณาให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย C. difficile เช่น metronidazole (Flagyl) หรือ vancomycin (Vancocin)
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.practo.com/treatment-for-antibiotic-associated-diarrhea
http://www.bangkokhealth.com/health/article/โรคท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ-936