การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยาอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ผลดี การเยียวยาจึงต้องอาศัยหลายมาตรการมาประกอบกัน
หัวข้อบรรยาย : สี่วิธีเยียวยาจิตใจ ช่วงบรรยายเนื้อหา
บรรยายโดย : อาจารย์นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล
(จิตเวชศาสตร์ทั่วไป ศิริราชพยาบาล)
ที่มาคลิป : ปลดล็อกกับหมอเวช
เว็บไซต์ : www.morprawate.com
แต่คำว่าหายแล้วในครั้งนั้น หมายถึงว่า หายสำหรับการป่วยในครั้งนั้น เพราะยังมีโอกาสกลับมาซึมเศร้าได้ อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้หยุดที่ตรงนี้ครับ สมาชิกท่านนี้ สมาชิกท่านนี้ ก็มีโอกาสมาเรียนรู้เพิ่มเติม คือ มาอบรมหัวข้อสำคัญ ซึ่งทำให้เยียวยาตนเองสำเร็จและก็มีความเชื่อมั่นว่า กระบวนการอบรม กระบวนการเรียนรู้ เช่น เขาใช้คำว่า มีความเชื่อมั่นว่า การยอมรับฟังสิ่งที่คุณหมอถ่ายทอดให้ทุกสัปดาห์ ช่วยให้ใจเข้มแข็งพอ เข้าใจชีวิตของคนมากขึ้น เข้าใจการใช้ชีวิตให้มีความสุข ซึ่งตรงนี้หมายความว่าอะไรครับ คุณสังเกตนะครับ เขาเยียวยาด้วยการเริ่มยอมรับตัวเอง ว่าเขาป่วย ต้องการความช่วยเหลือ จากนั้นเขาก็ไปรับการรักษา ดีขึ้น แต่รู้ดีว่าหวังพึ่งแต่วิธีนี้ไม่ได้ เพราะมันมีโอกาสเป็นซ้ำ แถมยาก็ไม่ได้ให้ผลดีเหมือนในช่วงแรกนะครับ ก็เลยต้องไปค้นหาวิธีเพิ่ม แต่ยังไม่ได้ทิ้งวิธีการรักษามาตรฐานด้วยยากับหมอท่านเดิม สิ่งที่จะช่วยเขาได้มาก ๆ ก็คือ เขาเริ่มเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง ซึ่งตัวนี้ คือ การปรับระบบความคิด ความรู้สึกนึกคิด เข้าใจชีวิตผู้คนมากขึ้น เข้าใจการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้น
คุณสังเกตไหมครับ มันไม่ใช่เรื่องของการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวนะครับ มันเป็นเรื่องของการปรับพฤติกรรม แล้วก็เปลี่ยนระบบความรู้สึกนึกคิด ผ่านการพัฒนาทักษะการอบรม นะครับ ที่เหลือเป็นคำชมที่มีกับผม ซึ่งผมจะขออนุญาตไม่อ่านเพิ่มเติมนะครับ แต่เขาก็มีความเชื่อว่า สิ่งดี ๆ เขาอยากจะบอกต่อ นะครับ ผมมีความเชื่ออย่างหนึ่งครับว่า แม้ว่าสมาชิกท่านนี้ ซึ่งเคยมาเรียนกับผมอยู่ประมาณ 2-3 หลักสูตร ได้บอกว่า เขามีความเข้าใจในชีวิต และเราคิดว่านั่นเป็นชั้นของความรู้สึกนึกคิด แต่ผมมีความเชื่อว่า เขาเชื่อมโยงกับตัวเองในส่วนลึกได้ดีขึ้น ผมรู้ได้อย่างไร อ่ะครับ ผมคิดว่า เวลาที่คนเราพัฒนาและรู้สึกไม่หยุด ไม่หยุดยั้งที่การเห็นวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง คนแบบนี้จะไม่หยุดพัฒนา แล้วเขาจะใฝ่รู้และเข้าใจเริ่มใช้โอกาสที่เขาป่วยเป็นซึมเศร้าในครั้งนั้น ย้อนกลับมาเรียนรู้ตัวเอง แล้วก็เชื่อมโยงตัวตน เชื่อมโยงกับตัวตนได้ดีขึ้น ซึ่งทำให้เขาเรียนรู้ที่จะตอบสนองความปรารถนาและความต้องการในใจตัวเองลึก ๆ ได้ดีขึ้น นะครับ
ดังนั้นก็แปลว่า เมื่อมีการเยียวยาหลากหลายระดับ โอกาสที่จะกลับไปเป็นซ้ำก็จะยากขึ้นมาก ๆ นะครับ ซึ่งเป็นหลักที่ผมใช้ในการประเมินว่า จะหยุดยาหรือยัง หยุดแล้วเสี่ยงไหมนะครับ ก็คือเราประเมินว่า 1 สิ่งแวดล้อมยังเครียดอยู่ไหม 2 เขาปรับวิถีชีวิตได้ดีเพียงใด 3 กระบวนการระบบความคิด การจัดการอารมณ์ดีขึ้นหรือยัง นะครับ และเขาเชื่อมโยงและยอมรับและเห็นคุณค่าในตัวเองลึกซึ้งเพียงใด ถ้า 4 ชั้นนี้ ผ่านการเยียวยาดี ๆ โอกาสที่จะดีและมีชีวิตที่เติบโต จากการป่วยเป็นซึมเศร้าก็จะมีมากขึ้น
แล้วทำไมคนส่วนใหญ่ถึงเยียวยาแล้วไม่หาย ก็เพราะว่า เขาไปหวังพึ่งแต่เรื่องของการจัดที่ผิวภายนอก แล้วก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองต้องปรับแก้อะไรภายใน นะครับ บางคนหวังพึ่งยาอย่างเดียว บางคนก็เริ่มเรียนรู้ว่าสิ่งแวดล้อมเกี่ยว บางคนก็รู้ว่าการนอน การออกกำลังกายสำคัญ แต่ไม่ค่อยมีคนให้เวลากับเรียนรู้สิ่งที่เป็นการเยียวยา กระบวนการที่เป็น 2 ชั้นที่ลึกลงไปข้างในใจตัวเองครับ
ดังนั้น ถ้าหากท่านมีเรื่องราว ท่านก็ลองเยียวยาจากภายนอก ดูว่าสิ่งแวดล้อมช่วยได้ไหม พฤติกรรมจะต้องปรับตรงไหน วิถีชีวิตจะปรับยังไง นะครับ แล้วลองดูว่ามันจะช่วยให้ความรู้สึกนึกคิดของท่านมันสงบ มันมองอะไรที่ดีขึ้น ถ้าจบ นั่นก็อาจจะเยียวยาจบในเรื่องนั้น แต่ถ้าไม่จบ อาจจะเป็นไปได้ว่า ท่านมีโจทย์ที่ลึกไปกว่านั้น ซึ่งโจทย์ที่ลึกกว่านั้น คือ สาเหตุของปัญหาที่เยียวยาไม่จบ ไม่ใช่เรื่องภายนอก เหมือนกับกรณีของสุภาพสตรีที่อกหักเมื่อ 10 ปีก่อน แล้วยังไม่หายซึมเศร้า มันไม่ได้เกิดจากสาเหตุของการอกหักในครั้งนั้นครับ สาเหตุไม่ได้อยู่ภายนอก สาเหตุมันอยู่ที่ภายในใจ ซึ่งกระบวนการแก้ไข ผ่านการแนะนำบอกว่า ไปออกกำลังกายสิ ไปนอกบ้าน ไปพบหาเพื่อน อย่านอนอยู่อย่างเดียว คำแนะนำแบบนี้ ไม่ค่อยได้ผลครับ เพราะฐานข้างในใจมันไม่เหลือพลังในการออกมาทำกิจกรรมที่คิดว่าดี นะครับ แต่ก็มีบางคนนะครับ ที่จะเขาฝืนทำกิจกรรม เริ่มต้นทำ แล้วมีพลัง พลังนี้ก็เพียงพอกับการเข้าไปกระตุกข้างใน ปรับระบบความคิดความเชื่อได้ดีขึ้น นะครับ ตรงนี้มันจึงต้องเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง แล้วก็ไม่ได้หวังพึ่งมาตรการใดมาตรการหนึ่งครับ นี่ก็คือทั้งหมดที่จะพูดถึงการเยียวยา 4 วิธี แต่จริง ๆ ก็คือ 4 ระดับความลึกซึ้งของมันนะครับ
บรรยายโดย : อาจารย์นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล
(จิตเวชศาสตร์ทั่วไป ศิริราชพยาบาล)
ที่มาคลิป : ปลดล็อกกับหมอเวช
เว็บไซต์ : www.morprawate.com
สาเหตุของโรคซึมเศร้าที่อยู่ในชั้นที่ลึกของปมภายในใจ กระบวนการให้คำแนะนำต่าง ๆ อาจจะไม่ได้ผล เพราะฐานข้างในใจมันไม่เหลือพลังในการออกมาทำกิจกรรมที่คิดว่าดีได้ผมจะจบท้ายช่วงบรรยายเนื้อหา ด้วยตัวอย่างของสมาชิกท่านหนึ่ง เขาเล่ามาแบบนี้ครับ “คุณหมอคะ มานึกดูว่าเราเยียวยาตนอย่างไร จึงหายจากซึมเศร้า คือ สังเกตตนเองว่ามีอะไรผิดปกติ อยากหาย ค้นหาว่าเราเป็นอะไร มีทางรักษาไหม พาตัวไปหาหมอที่โรงพยาบาลเมื่อรู้สึกว่า ยาไม่ได้ให้ผลมาก เท่าที่ดีขึ้นตอนแรก และรู้ว่าอาจเป็นซึมเศร้าซ้ำ ก็พยายามหาวิธีอื่น ๆ มาช่วย เปิดเจอเพจของคุณหมอ ได้อ่าน ได้รู้ ได้ฝึก เอาจริงเอาจัง โดยยังไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาลเดิมต่อเนื่อง” ซึ่งในที่นี้หมายถึงว่า เขายังรักษากับจิตแพทย์ที่รักษาประจำตัว แล้วก็เริ่มตระหนักว่า ยาเนี่ยตอนแรก ๆ กินแล้วได้ผลดี แต่พอกินไปกินไป ผลมันก็ไม่ได้ดีมากเหมือนในช่วงแรก แถมรู้ด้วยว่า ถ้าวันหนึ่งหยุดยา ในอนาคตอาจจะกลับมาเป็นซ้ำเนี่ย เขาก็เลยเลือกที่จะค้นหาความรู้ แล้วก็เริ่มปรับชีวิต ทิศทางการทำงาน จนดูเป็นปกติและหมอประจำตัวก็บอกว่าหายแล้ว
แต่คำว่าหายแล้วในครั้งนั้น หมายถึงว่า หายสำหรับการป่วยในครั้งนั้น เพราะยังมีโอกาสกลับมาซึมเศร้าได้ อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้หยุดที่ตรงนี้ครับ สมาชิกท่านนี้ สมาชิกท่านนี้ ก็มีโอกาสมาเรียนรู้เพิ่มเติม คือ มาอบรมหัวข้อสำคัญ ซึ่งทำให้เยียวยาตนเองสำเร็จและก็มีความเชื่อมั่นว่า กระบวนการอบรม กระบวนการเรียนรู้ เช่น เขาใช้คำว่า มีความเชื่อมั่นว่า การยอมรับฟังสิ่งที่คุณหมอถ่ายทอดให้ทุกสัปดาห์ ช่วยให้ใจเข้มแข็งพอ เข้าใจชีวิตของคนมากขึ้น เข้าใจการใช้ชีวิตให้มีความสุข ซึ่งตรงนี้หมายความว่าอะไรครับ คุณสังเกตนะครับ เขาเยียวยาด้วยการเริ่มยอมรับตัวเอง ว่าเขาป่วย ต้องการความช่วยเหลือ จากนั้นเขาก็ไปรับการรักษา ดีขึ้น แต่รู้ดีว่าหวังพึ่งแต่วิธีนี้ไม่ได้ เพราะมันมีโอกาสเป็นซ้ำ แถมยาก็ไม่ได้ให้ผลดีเหมือนในช่วงแรกนะครับ ก็เลยต้องไปค้นหาวิธีเพิ่ม แต่ยังไม่ได้ทิ้งวิธีการรักษามาตรฐานด้วยยากับหมอท่านเดิม สิ่งที่จะช่วยเขาได้มาก ๆ ก็คือ เขาเริ่มเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง ซึ่งตัวนี้ คือ การปรับระบบความคิด ความรู้สึกนึกคิด เข้าใจชีวิตผู้คนมากขึ้น เข้าใจการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้น
คุณสังเกตไหมครับ มันไม่ใช่เรื่องของการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวนะครับ มันเป็นเรื่องของการปรับพฤติกรรม แล้วก็เปลี่ยนระบบความรู้สึกนึกคิด ผ่านการพัฒนาทักษะการอบรม นะครับ ที่เหลือเป็นคำชมที่มีกับผม ซึ่งผมจะขออนุญาตไม่อ่านเพิ่มเติมนะครับ แต่เขาก็มีความเชื่อว่า สิ่งดี ๆ เขาอยากจะบอกต่อ นะครับ ผมมีความเชื่ออย่างหนึ่งครับว่า แม้ว่าสมาชิกท่านนี้ ซึ่งเคยมาเรียนกับผมอยู่ประมาณ 2-3 หลักสูตร ได้บอกว่า เขามีความเข้าใจในชีวิต และเราคิดว่านั่นเป็นชั้นของความรู้สึกนึกคิด แต่ผมมีความเชื่อว่า เขาเชื่อมโยงกับตัวเองในส่วนลึกได้ดีขึ้น ผมรู้ได้อย่างไร อ่ะครับ ผมคิดว่า เวลาที่คนเราพัฒนาและรู้สึกไม่หยุด ไม่หยุดยั้งที่การเห็นวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง คนแบบนี้จะไม่หยุดพัฒนา แล้วเขาจะใฝ่รู้และเข้าใจเริ่มใช้โอกาสที่เขาป่วยเป็นซึมเศร้าในครั้งนั้น ย้อนกลับมาเรียนรู้ตัวเอง แล้วก็เชื่อมโยงตัวตน เชื่อมโยงกับตัวตนได้ดีขึ้น ซึ่งทำให้เขาเรียนรู้ที่จะตอบสนองความปรารถนาและความต้องการในใจตัวเองลึก ๆ ได้ดีขึ้น นะครับ
ดังนั้นก็แปลว่า เมื่อมีการเยียวยาหลากหลายระดับ โอกาสที่จะกลับไปเป็นซ้ำก็จะยากขึ้นมาก ๆ นะครับ ซึ่งเป็นหลักที่ผมใช้ในการประเมินว่า จะหยุดยาหรือยัง หยุดแล้วเสี่ยงไหมนะครับ ก็คือเราประเมินว่า 1 สิ่งแวดล้อมยังเครียดอยู่ไหม 2 เขาปรับวิถีชีวิตได้ดีเพียงใด 3 กระบวนการระบบความคิด การจัดการอารมณ์ดีขึ้นหรือยัง นะครับ และเขาเชื่อมโยงและยอมรับและเห็นคุณค่าในตัวเองลึกซึ้งเพียงใด ถ้า 4 ชั้นนี้ ผ่านการเยียวยาดี ๆ โอกาสที่จะดีและมีชีวิตที่เติบโต จากการป่วยเป็นซึมเศร้าก็จะมีมากขึ้น
แล้วทำไมคนส่วนใหญ่ถึงเยียวยาแล้วไม่หาย ก็เพราะว่า เขาไปหวังพึ่งแต่เรื่องของการจัดที่ผิวภายนอก แล้วก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองต้องปรับแก้อะไรภายใน นะครับ บางคนหวังพึ่งยาอย่างเดียว บางคนก็เริ่มเรียนรู้ว่าสิ่งแวดล้อมเกี่ยว บางคนก็รู้ว่าการนอน การออกกำลังกายสำคัญ แต่ไม่ค่อยมีคนให้เวลากับเรียนรู้สิ่งที่เป็นการเยียวยา กระบวนการที่เป็น 2 ชั้นที่ลึกลงไปข้างในใจตัวเองครับ
ดังนั้น ถ้าหากท่านมีเรื่องราว ท่านก็ลองเยียวยาจากภายนอก ดูว่าสิ่งแวดล้อมช่วยได้ไหม พฤติกรรมจะต้องปรับตรงไหน วิถีชีวิตจะปรับยังไง นะครับ แล้วลองดูว่ามันจะช่วยให้ความรู้สึกนึกคิดของท่านมันสงบ มันมองอะไรที่ดีขึ้น ถ้าจบ นั่นก็อาจจะเยียวยาจบในเรื่องนั้น แต่ถ้าไม่จบ อาจจะเป็นไปได้ว่า ท่านมีโจทย์ที่ลึกไปกว่านั้น ซึ่งโจทย์ที่ลึกกว่านั้น คือ สาเหตุของปัญหาที่เยียวยาไม่จบ ไม่ใช่เรื่องภายนอก เหมือนกับกรณีของสุภาพสตรีที่อกหักเมื่อ 10 ปีก่อน แล้วยังไม่หายซึมเศร้า มันไม่ได้เกิดจากสาเหตุของการอกหักในครั้งนั้นครับ สาเหตุไม่ได้อยู่ภายนอก สาเหตุมันอยู่ที่ภายในใจ ซึ่งกระบวนการแก้ไข ผ่านการแนะนำบอกว่า ไปออกกำลังกายสิ ไปนอกบ้าน ไปพบหาเพื่อน อย่านอนอยู่อย่างเดียว คำแนะนำแบบนี้ ไม่ค่อยได้ผลครับ เพราะฐานข้างในใจมันไม่เหลือพลังในการออกมาทำกิจกรรมที่คิดว่าดี นะครับ แต่ก็มีบางคนนะครับ ที่จะเขาฝืนทำกิจกรรม เริ่มต้นทำ แล้วมีพลัง พลังนี้ก็เพียงพอกับการเข้าไปกระตุกข้างใน ปรับระบบความคิดความเชื่อได้ดีขึ้น นะครับ ตรงนี้มันจึงต้องเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง แล้วก็ไม่ได้หวังพึ่งมาตรการใดมาตรการหนึ่งครับ นี่ก็คือทั้งหมดที่จะพูดถึงการเยียวยา 4 วิธี แต่จริง ๆ ก็คือ 4 ระดับความลึกซึ้งของมันนะครับ
[ขอขอบคุณ นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]