กรดไหลย้อนเรื้อรังทำให้เป็นมะเร็งหลอดอาหารได้
โรคกรดไหลย้อนมีโอกาสเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้
รายงานพิเศษหัวข้อ : โรคกรดไหลย้อน รักษาถูกวิธีโรคนี้สามารถหายได้บรรยายโดย : ผศ.พญ.มณฑิรา มณีรัตนะพร
(อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล)
ที่มาคลิป : พบหมอมหิดล
โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในระบบทางเดินอาหาร แต่ถ้าคนไข้ปล่อยให้เป็นเรื้อรัง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาผลแทรกซ้อนของระบบทางเดินอาหารได้ และรุนแรงถึงขั้นเป็น “โรคมะเร็งหลอดอาหาร”โรคกรดไหลย้อน หรือ ภาวะกรดไหลย้อน นี่ เป็นภาวะที่พบค่อนข้างบ่อย ในระบบทางเดินอาหาร แม้ดูเหมือนว่าโรคนี้ไม่ได้อันตรายอะไรมาก แต่ถ้าเกิดเป็นเรื้อรังก็จะเกิดปัญหาผลแทรกซ้อนของระบบทางเดินอาหารได้
มาทำความรู้จักลักษณะของโรคกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อนนี่ จริง ๆ มันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกรดไหลย้อน ถ้ารุนแรงมากเนี่ย ก็อาจจะทำให้เกิดแผลในหลอดอาหารได้ แต่ปัญหาที่หมอเจอส่วนใหญ่ก็คือว่า คนไข้เอง เวลามีอาการมาก ๆ เขาไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งถ้าเกิดว่าแผลเนี่ย เป็นนาน ๆ แล้วก็เป็นมาก แผลใหญ่อย่างนี้ค่ะ มันก็มีโอกาสหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปแล้วทำให้เกิดเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้(หมอ) สวัสดีค่ะ คุณทัศนีย์ คะ
(คนไข้) สวัสดีค่ะ หมอ
(หมอ) คุณทัศนีย์ มีปัญหายังไง ถึงมาหาหมอคะ
(คนไข้) คือ อาการที่หลังจากทานอาหารมื้อแรก ก็เจออาการแน่นท้องค่ะ แล้วก็จุก และก็เสียดตรงยอดอก มันจะร้าวไปถึงซี่โครงด้านขวาด้วย แล้วก็สิ่งที่สำคัญ ก็คือว่า มันจะขย้อนออกมาเป็นอาหารครั้งสุดท้ายเนี่ยตลอดเลย เพราะว่ากินทั้งวันเลยค่ะ เวลาขย้อนออกมา มันจะมีของเปรี้ยว ๆ ออกมาในปากตลอด
ชนิดของโรคกรดไหลย้อน
(หมอ) โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะที่มีสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร แล้วทำให้เกิดอาการ หรือว่าทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลอดอาหารเกิดขึ้น ซึ่งในทางการแพทย์ คนไข้ก็จะมาด้วยรูปแบบแตกต่างกัน เช่น เกิดขึ้นในหลอดอาหาร1. อาการของกรดไหลย้อนชนิดในหลอดอาหาร ก็จะมีอาการ แสบร้อนในอก หรือ เรอเปรี้ยว เป็นอาการที่ค่อนข้างเกิดขึ้นบ่อย
2. อาการของกรดไหลย้อนชนิดนอกหลอดอาหาร อาการที่จะเกิด ก็จะมีอาการหลากหลาย เช่น บางคนมาด้วยเรื่อง ไอเรื้อรัง นะคะ ตรวจทุกอย่างแล้ว ปอด เอ็กซ์เรย์ปอดปกติ หน้าที่ของปอดปกติ แต่ว่าไม่พบสาเหตุ แต่ปรากฏว่าเป็นเกิดจากกรดไหลย้อน บางท่านก็จะมีปัญหาเรื่อง เจ็บคอหรือแสบคอ นะคะ หรือว่าบางท่านก็จะมีอาการหอบหืดได้ นะคะ ที่เป็นอาการของนอกหลอดอาหาร
อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดว่ามีอาการดังกล่าวก็ต้องไปตรวจกับทางหมอเฉพาะทางก่อน เช่น เป็นหอบหืด ไอเรื้อรัง ก็ต้องไปพบคุณหมอปอดก่อน ถ้าเกิดเขารักษาไม่หาย เขาอาจจะนึกถึงหมอระบบทางเดินอาหารขึ้นมา นะคะ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อน
ปัจจัยเสี่ยงที่พบชัด ๆ ก็ คือ น้ำหนักตัว คือ คนที่อ้วนเนี่ย ที่หมอเจอบ่อย ๆ อย่างเช่น เดิมปกติดี พอซัก 2-3 เดือนมานี้ มีอาการแสบร้อนในอก เรอเปรี้ยวมาเยอะเนี่ยค่ะ จะต้องถามเลยค่ะ ว่าน้ำหนักขึ้นไหม เรามีน้ำหนักตัวเกิน ก็คืออ้วน สะสม ลงพุง อย่านี้นะคะ ก็จะทำให้มีความดันในช่องท้องสูงขึ้น พอความดันในช่องท้องสูงขึ้น มันก็จะทำให้กระเพาะอาการที่แคบลง นะคะ ก็คือทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น ซึ่งพวกนี้ถ้าเราลดน้ำหนักดี ๆ อาการก็จะดีขึ้นเช่นเดียวกันกับ คนท้อง ก็มีความเสี่ยงจากการเกิดอาการกรดไหลย้อนได้เหมือนกัน พอท้องก็คือมีเด็กอีกคนอยู่ในท้องใช่ไหมคะ ก็จะทำให้ความดันในช่องท้องสูงขึ้น ก็มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น ดังนี้ ข้อที่ 1 ก็คือ น้ำหนักตัวเกิน นะคะ
อันที่ 2 ก็คือ พฤติกรรมการรับประทานอาหารบางอย่าง เช่น การรับประทานอาหารแล้วนอนเลย คืออาหารมันยังไม่ทันผ่านกระเพาะไปที่ลำไส้เล็กนะคะ เพราะฉะนั้น โอกาสที่จะย้อนขึ้นมามีค่อนข้างเยอะ เพราะว่าเวลาเรานอนปุ๊บเนี่ย เราอยู่ในแนวราบใช่ไหมคะ ก็มีโอกาสเกิดเยอะ หรือว่าเรารับประทานอาหารที่มัน ๆ อาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะได้นาน ๆ เช่น อาหารที่ย่อยยาก ก็จะมีโอกาส เกิดปัญหาเยอะขึ้น
อาหารที่ย่อยยาก กลุ่มแรก คือ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อสัตว์ที่ติดหนัง กลุ่มสอง คือ พืช ผักที่มีกากใยสูง เช่น บรอคโคลี กะหล่ำปลี กลุ่มสาม คือ อาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด ของมัน ของที่มีรสหวานจัด หรือมีไขมันเป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมในกลุ่มแบเกอรี่
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ก็คือ 1. ปกติระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหารก็จะมีหูรูดติดอยู่นะคะ แต่ถ้าหูรูดดังกล่าวมันเสื่อม เช่น มันคลายตัวบ่อย มันหลวม โอกาสที่กรดไหลย้อนเกิดขึ้นก็เยอะขึ้น นะคะ หรือ 2. เป็นตัวโรคของคนไข้เอง อย่างเช่น คนไข้บางโรคเนี่ย การทำงานของหลอดอาหารไม่ปกติ นอกจากการปิดของหูรูดหลอดอาหารแล้วเนี่ย การทำงานของหลอดอาหารจะมีการบีบตัวนะคะ ไล่สิ่งที่อยู่ในหลอดอาหารลงกระเพาะอาหารได้ แต่ถ้าปัจจัยดังกล่าวมันเสียไปด้วยโรคของเขาเนี่ย ก็จะทำให้โอกาสเกิดกรดไหลย้อนได้เยอะขึ้นวิธีการตรวจโรคกรดไหลย้อน
ถ้าเราสงสัยว่าจะเกิดกรดไหลย้อนเนี่ย ก็จะมีวิธีการตรวจหลายอย่างนะคะ อันแรก ก็คือการส่องกล้องทางเดินอาหาร แต่กรณีที่ส่องกล้องแล้วไม่เจอแผลดังกล่าว เราจะใช้สายใส่เข้าไปทางจมูก ตรงปลายสายมันก็จะอยู่ในหลอดอาหารส่วนปลายนะคะ แล้วก็จะต้องใส่ไว้ 24 ชม. ซึ่ง 24 ชม.เนี่ยเขาก็จะบันทึกว่ามันมีกรดขึ้นมาปริมาณเท่าไร กี่ครั้ง นะคะ คงต้องให้คุณทัศนีย์จะต้องกดปุ่มดูว่า ตอนนี้มีอาการแสบร้อน ตอนนี้มีอาการเรอเปรี้ยว เพื่อหมอจะได้ไปดูว่า อาการที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่ไหลย้อนขึ้นมามันสัมพันธ์กันหรือเปล่าวิธีการรักษาโรคกรดไหลย้อน
โดยเบื้องต้นเนี่ย ถ้าเกิดว่าอาการค่อนข้างคลาสสิก คือ แสบร้อนในอก หรือว่าเรอเปรีี้ยวเนี่ย ส่วนใหญ่คนไข้ก็มักจะไปหายารับประทานเองอยู่แล้ว อย่างเช่น ยากระเพาะอาหารทั่ว ๆ ไป ยาลดกรดทั่ว ๆ ไป บางทีก็มีการรักษาโดยการผ่าตัด ไปทำให้หูรูดดังกล่าวมันกระชับมากขึ้นการรักษาโดยทั่วไป แพทย์จะทานยารักษาการหลั่งของกรดเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งจะมีโอกาสกลับมามีอาการได้อีก ดังนั้นการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะให้ยาในกลุ่มเดิมเป็นระยะ ๆ หรือให้ยาตามอาการ
แต่ในกรณีที่อาการเป็นเรื้อรัง ไม่ดีขึ้น นะคะ ยังหยุดยาไม่ได้ อันนี้ควรแนะนำให้มาตรวจเพิ่มเติม เพราะบางทีมันอาจจะไม่ใช่เป็นกรดไหลย้อนจริง ๆ ก็ได้
[ขอขอบคุณ ผศ.พญ.มณฑิรา มณีรัตนะพร อย่างสูง ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ช่อง YouTube | Mahidol Channel : https://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook | https://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.mahidol.ac.th/th
Website | https://www.mahidolchannel.com | https://channel.mahidol.ac.th/
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล | https://www.si.mahidol.ac.th/th/