ความดันโลหิตสูงนอกจากทำให้ไตวาย ไตเสื่อมแล้ว ยังมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมายที่มาจากความดันสูง
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่คุณอาจจะไม่ทราบ
หัวข้อบรรยาย : ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง มีอาการอื่น ๆ อะไรได้อีกบ้างบรรยายโดย : พญ.กัลย์ยมล ธรรมนิรมล อายุรแพทย์โรคไต
ที่มา : หมอไตให้คำตอบ โดย พญ.กัลย์ยมล
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนะคะ นอกจากจะส่งผลให้ไตวาย ไตเสื่อม แล้วค่ะ ยังมีภาวะแทรกซ้อนอื่นที่สำคัญที่อาจเกิดขึ้นได้นะคะ เดี๋ยววันนี้หมอจะเล่าเรื่องนี้ให้ฟังค่ะสวัสดีค่ะ เรียนรู้เรื่องไตกับหมอไต ทาง channel นี้ หมอไตให้คำตอบโดย พญ.กัลย์ยมล ธรรมนิรมล อายุรแพทย์โรคไต ค่ะ และวันนี้หมอจะเล่าให้ฟัง สำหรับผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง ค่ะ ส่วนใหญ่ก็จะกังวลกันอยู่ 2 เรื่องใช่ไหมคะ ภาวะความดันโลหิตสูง อาจจะมีเส้นเลือดในสมองแตก เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ และก็กลัวเรื่องของไตเสื่อม ไตวาย กลัวว่าจะต้องฟอกเลือดไตนะคะ ที่จริงแล้วสำหรับภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง ค่ะ ยังมีโอกาสที่จะเกิดกับอวัยวะต่าง ๆ อีกนะคะ
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันสูงเกี่ยวกับสมองและตา
อย่างเช่น ถ้าเกิดมีความดันโลหิตสูงมาก ๆ ก็อาจจะมีผลกระทบกับสมอง และก็ตาค่ะ คนไข้ก็จะมาในเรื่องของอาการปวดหัว มีเวียนหัว บ้านหมุน ตาพร่ามัว นะคะ อาจจะมีแขน/ขา อ่อนแรงได้ นะคะ โดยถ้าเกี่ยวกับสมองโดยมากก็จะอ่อนแรงไปซีกหนึ่ง นะคะ อาจจะเป็นซีกซ้าย หรือว่าซีกขวานะคะ ทั้งแขนและก็ขา นะคะ ถ้าเกิดมีอาการชา ก็ชาเป็นครึ่งซีกเหมือนกันนะคะ อาจจะเป็นข้างซ้าย หรือว่าข้างขวาเช่นกันค่ะ นอกจากนี้ก็จะมีเรื่องของอย่างอื่น เช่น มีปากเบี้ยว มีพูดไม่ชัดนะคะ อาจจะมีซึมลง มีสับสนได้ อย่างนี้เป็นต้น ค่ะ คนไข้อาจจะมีประวัติ อัมพฤกษ์ อัมพาต อยู่แล้วนะคะ กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบของสมองและก็ตา ค่ะภาวะแทรกซ้อนจากความดันสูงเกี่ยวกับหัวใจ
สำหรับภาวะแทรกซ้อนต่อไปนะคะ ก็คือภาวะแทรกซ้อนของหัวใจนะคะ คนไข้อาจจะมีเรื่องของการเจ็บหน้าอกนะคะ เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน นะคะ ที่เคยได้ยินว่า บางคนแข็งแรงสบายดีนะคะ แต่ถ้าเกิดไม่ได้มาเช็คร่างกายค่ะ คนไข้นั้นอาจจะมีเรื่องของความดันโลหิตสูงอยู่ แต่ว่าไม่รู้นะคะ ก็ไม่ได้รับการรักษา พอไม่ได้รับการรักษา วันหนึ่งอาจจะแข็งแรงสบายดีแล้วอยู่ ๆ ก็มีเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลันนะคะ เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้นะคะ ซึ่งภาวะนี้ก็เป็นภาวะฉุกเฉิน และเป็นภาวะอันตรายอย่างหนึ่งนะคะ อาการอย่างอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ ก็อย่างเช่น อาจจะมีเรื่องของใจสั่นค่ะ เหนื่อยหอบนะคะ นอนราบไม่ได้นะคะ เช่น คนไข้มีหัวใจวาย ค่ะ ก็จะ พอนอนราบทีไรก็จะมีน้ำเกินนะคะ คนไข้ก็จะหายใจไม่ออก ก็จะต้องมานอนหัวสูงนะคะ ลักษณะนี้เวลาหมอถามคนไข้ค่ะ ก็จะถามว่า "นอนราบได้ไหม" บางคนอาจจะใช้คำว่า นอนราบได้ แต่ที่จริงของเขา คือ นอนเป็นหมอนสูง อย่างนี้ ถ้าเกิดว่าของเดิมนอนหมอนใบเดียว แต่หลังจากนั้นจะต้องนอนหมอน 2 ใบ อย่างนี้ เพราะว่านอนใบเดียวทีไรเหนื่อยมากทุกที อาจจะมีเรื่องขาบวมนะคะ ในขาบวมของผู้ป่วยหัวใจค่ะ บางทีมา บวมเหมือนไตเลยนะคะ ก็คือบวมเท้า 2 ข้างนะคะ บวมหน้าแข้ง และก็ลักษณะบวมจะเป็นการบวมกดบุ๋มค่ะภาวะแทรกซ้อนจากความดันสูงเกี่ยวกับหลอดเลือดส่วนปลาย
มีภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น หลอดเลือดส่วนปลาย นะคะ คนไข้ก็จะมีเรื่องของปลายมือปลายเท้าซีด เย็น ปวดขาเวลาเดิน นะคะภาวะแทรกซ้อนจากความดันสูงเกี่ยวกับไต
และสำหรับโรคไตค่ะ คนไข้ที่มีปัญหาเรื่องไต ก็อาการ หมอเคยเล่าให้ฟังในหลายวิดีโอแล้วนะคะ อาจจะมาด้วยอาการได้หลากหลายอย่าง เช่น อาจจะมีปัสสาวะออกมาก ปัสสาวะออกบ่อย นะคะ คนไข้ไตบางคนก็จะมาด้วยอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน หรือว่าอาจจะมีปัสสาวะปนเลือด ปัสสาวะมีสีล้างเนื้อ อย่างนี้เป็นต้น นะคะคำเตือนและคำแนะนำจากคุณหมอ เพื่อป้องกันและมีความสำคัญที่ทุกคนต้องทำ
ดังนั้น สำหรับคนทั่วไปนะคะ ที่ไม่เคยรู้ว่าตัวเองมีโรคประจำตัวหรือเปล่า หมอก็แนะนำว่า ก็ควรจะตรวจสุขภาพนะคะ เพราะว่า ความดันโลหิตสูง ถ้าเกิดว่าเป็นน้อย ๆ นะคะ มักจะไม่มีอาการ นะคะ จะรอจนถึงความดันสูงเยอะ ๆ แล้ว จะรอปวดหัว จะรอจนกว่ามีอาการนำ มีอาการเตือน บางทีสายไปแล้ว นะคะ เกิดมีภาวะแทรกซ้อน ก็อย่างที่หมอเล่าไปนะคะ ภาวะแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่างเนี่ย อันตรายที่ให้ชีวิตจากที่ปกติสุขเนี่ย เปลี่ยนไปได้เลยค่ะสำหรับโรคไต ก็เช่นเดียวกันค่ะ โรคไตในระยะต้น ๆ หมอย้ำเสมอ โรคไตในระยะต้น ๆ จะไม่มีอาการนะคะ คนไข้จะมารอจน เอ่อ จะมาถามคุณหมอซิว่า "ปัสสาวะลักษณะนี้ ใช่โรคไตไหม" ปวดหลังแบบนี้ใช่โรคไตไหม ปวดเอวแบบนี้ใช่ไหม อาการ 1 2 3 แบบนี้ใช่หรือเปล่า หมอคิดว่า อาจจะถามก็ได้นะคะ ก็ตอบให้ แต่ว่า เอ่อ ถ้าเกิดเป็นน้อย ๆ จะไม่มีอาการนะคะ การจะตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ อันนี้ก็เป็นการสันนิษฐานเบื้องต้น แต่ว่าที่จริงแล้ว เราไม่ควรจะทำแบบนั้นนะคะ เพราะว่าสิ่งที่จะดูก็คือว่า คนไข้เป็นหรือไม่เป็น ดังนั้น การยืนยัน สรุปว่าเป็นหรือไม่เป็น เพราะว่าผลข้างเคียง ภาวะแทรกซ้อนในอนาคตค่ะ ไม่ใช่หมอคิดว่า ใช่หรือไม่ใช่ แต่มันคือ คนไข้มีหรือไม่มีภาวะนั้นต่างหาก ดังนั้น สิ่งที่หมอแนะนำก็คือ ควรจะไปตรวจยืนยัน นะคะว่า สรุปว่าท่านเป็นโรคต่าง ๆ แบบนี้ หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เหล่านี้หรือยังนะคะ
ส่วนท่านใดที่เป็นความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว การที่ทานยาแต่ละวัน คุณหมอคิดว่า ไม่พอนะคะ ยังจำเป็นต้องดูแลว่า บางคนสบายใจนะคะ ทานยาก็แล้วกันไป หมอยังมีว่าควรจะมีเครื่องวัดความดัน ควรจะวัดความดันด้วยตัวเองที่บ้าน นะคะ นอกจากนี้ก็จะมีการคุมอาหารให้ดี และก็คุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ โดยทั่วไประดับความดันที่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมก็คือ ความดันน้อยกว่า 140/90 นะคะ แต่สำหรับโรคไตบางโรค โดยเฉพาะโรคไตที่มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะแล้วค่ะ บางทีหมอจะลดความดันให้น้อยกว่า 130/80 นะคะ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม อันนี้เป็นความดันที่หมอพูดในเบื้องต้นนะคะ เวลาหมอปรับยาความดันค่ะ จำเป็นจะต้องดูอย่างอื่นแวดล้อมด้วยนะคะ ดังนั้นแต่ละคน จำเป็นจะต้องมีคุณหมอแนะนำนะคะ ว่าการปรับยาควรจะเป็นเท่าไหร่ แบบนี้นะคะ
และสำหรับวันนี้ หมอจะจบวิดีโอไว้แต่เพียงเท่านี้นะคะ ท่านใดที่มีคำถามสงสัย สามารถฝากคอมเม้นท์ไว้ที่ด้านล่างได้ค่ะ และถ้าใครคิดว่า คลิปนี้มีประโยชน์ ก็ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม ฝาก subscribe ให้ด้วยนะคะ สวัสดีค่ะ
[ขอบคุณ พญ.กัลย์ยมล สำหรับข้อมูล ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]