ภาวะซีดเกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เราสามารถดูจากผลเลือด และเกี่ยวข้องกับการทำงานของไต ควรตรวจเลือดเป็นประจำเพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษา ตั้งแต่เนิ่นๆ
ภาวะหน้าซีดเกี่ยวเนื่องกับไตอย่างไร
หัวข้อบรรยาย : ภาวะซีดในผู้ป่วยไตเรื้อรังบรรยายโดย : พญ.กัลย์ยมล ธรรมนิรมล อายุรแพทย์โรคไต
ที่มา : หมอไตให้คำตอบ โดย พญ.กัลย์ยมล
สวัสดีค่ะ พญ.กัลย์ยมล ธรรมนิรมล อายุรแพทย์โรคไต ค่ะ วันนี้หมอจะมาพูดถึง ภาวะซีดในผู้ป่วยไตเรื้อรัง นะคะ เวลาที่เราพูดถึงการซีด อะค่ะ ก็คือ การที่คนไข้มีเปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดง น้อยกว่าปกตินะคะ เวลาเราไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาลค่ะ ก็จะได้กระดาษมาแผ่นหนึ่ง หมอจะเรียกว่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด อะค่ะ ซึ่งอันนี้ก็จะมีเม็ดเลือด 3 กลุ่ม ก็คือ กลุ่ม เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด (ตามภาพ)
โดยทั่วไปก็ควรจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งหมด 3 กลุ่ม วันนี้หมอจะพูดถึงกลุ่มของเม็ดเลือดแดง ซึ่งถ้าเกิดมีความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ เราก็จะเรียกว่าซีด ค่ะ
ค่าปกติของเม็ดเลือดแดง
เพศชาย Hb 13, Hct 39
เพสหญิง Hb 12, Hct 36
เราจำเป็นต้องดูแลเรื่องซีดนะคะ เพราะว่า ถ้าเกิดว่าคนไข้ซีดมากๆ ค่ะ ข้อแรก คุณภาพชีวิตเสียไปนะคะ คนไข้ก็จะมีอาการ มีเหนื่อย มีเพลีย เวียนหัว ทำอะไรก็ไม่สดชื่นตลอดเวลา ข้อที่สอง การซีดค่ะ เม็ดเลือดแดงที่น้อยลง นอกจากมีอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆ น้องลง ก็ไปเลี้ยงไตน้อยลงนะคะ ไตก็ทำงานแย่ลง ก็คือ เปอร์เซ็นต์การทำงานของไตก็จะเริ่มน้อยลง รวมทั้งการซีดมีผลต่อหัวใจแน่นอนนะคะ จะทำให้ หัวใจทำงานหนักมากขึ้น หัวใจโต อาจจะมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือว่าหัวใจวายได้ ก็อันตรายทีเดียวนะคะ
ค่าความเข้มข้นเลือดของผู้ชาย ควรจะอยู่อย่างน้อย Hb 13 และก็ผู้หญิงอย่างน้อย Hb 12 ค่ะ ถ้าเกิดซีดน้อยๆ ก็ยังไม่มีอาการนะคะ แต่ว่าถ้าค่าความเข้มข้นเลือดเริ่มน้อยกว่า 10 คนไข้ก็จะเริ่มมีอาการอย่างที่หมอเล่าไปแล้วค่ะ
คนไข้ที่ซีดจากไต มักเป็นไตเรื้อรัง อย่างน้อยระยะ 3 ขึ้นไป
ชาย Hb < 10 กรัม/ดล. Hct < 30%
ชาย Hb < 10 กรัม/ดล. Hct < 30%
คนไข้โรคไตก็จะซีดมากกว่าคนทั่วไป ก็เนื่องจากว่า ไตทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง อีกอันหนึ่งนะคะ ก็จะมีเรื่องไขกระดูกของเรานะคะ อาศัยธาตุเหล็กที่เรารับประทานทั่วไปที่ ดูดซึมเข้าร่างกาย และก็อาศัยฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงจากไต อะคะ ก็จะผลิตเป็นเม็ดเลือดแดง ดังนั้น ถ้าเกิดว่าไตเราทำงานได้น้อยเกินไป ไตเสื่อมมากเกินไป ฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้เปลี่ยนไปเป็นเม็ดเลือดแดงก็จะทำงานได้น้อยลง คนไข้ก็จะมีซีดลง นะคะ
รวมทั้งคนไข้ก็อาจมีอาการติดเชื้อบางอย่าง บ่อยๆ ก็จะเกิดการอักเสบในร่างกายอยู่เรื่อยๆ พวกนี้อะค่ะ ก็จะทำให้เม็ดเลือดแดง โดยทั่วไป ที่มีอายุอยู่ประมาณ 120 วัน แต่สำหรับคนไข้ไตค่ะ อายุก็จะเหลือ 60 ถึง 90 วัน ก็คือจะน้อยกว่าคนทั่วไป นะคะ
และก็ในคนไข้ไตที่ทานอาหารไม่เพียงพอ อาการบางอย่างที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าได้รับไม่เพียงพอ คนไข้ก็จะมีอาการซีด คนไข้ไตก็ยังมีความเป็นไปได้ว่าก็อาจจะเกิดซีดโดยที่ไม่ได้เกี่ยวกับไตโดยตรงนะคะ เช่น อาจจะมีเลือดออกในทางเดินอาหาร อาจจะมีเม็ดเลือดแดงแตก หรืออาจจะมีสาเหตุอื่นๆ
สรุปสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซีด
1. ขาดฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง2. ติดเชื้อ การอักเสบฉับพลัน อักเสบเรื้อรัง
3. เม็ดเลือดแดง อายุสั้นกว่าปกติ
4. การดูดซึมธาตุเหล็ก/โฟลิค/วิตามินบี 12 น้อยลง
ปัจจัยที่ช่วยควบคุมเรื่องซีด
ปัจจัยที่มีผลกับการที่เม็ดเลือดแดงจะผิดปกติไป หรือว่าซีด ก็จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ปัจจัย อันแรก ก็อยู่ในเรื่องของ อาหารค่ะ ที่หมอคุยด้วยบ่อยๆ ก็คือ คุมอาหารเค็ม คุมอาหารไขมันสูง และก็คุมอาหารหวานสำหรับคนไข้ที่เป็นเบาหวาน ค่ะ พวกนี้ถ้าเกิดว่าคุมพวกนี้ให้อยู่ในเกณฑ์ ก็จะทำให้ชะลอการเสื่อมของไตได้โดยการชะลอการเสื่อมของไต ด้วยเปอร์เซ็นต์การเสื่อมของไตที่ยังไม่มากค่ะ ก็จะทำให้ตัวฮอร์โมนกระตุ้นเม็ดเลือดก็ยังใช้ได้ และการดูดซึมธาตุเหล็กก็ยังดี นะคะ อันที่สอง ค่ะ ก็คือเกี่ยวกับกิจกรรมนะคะ การที่ออกกำลังกาย การงดการสูบบุหรี่ ก็ช่วยชะลอการเสื่อมของไต ดังนั้น ก็จะทำให้ควบคุมเรื่องซีดด้วย ค่ะ อันสุดท้าย คือการควบคุมความดัน เบาหวานให้ดี การที่คนไข้ไม่บวม ไม่ติดเชื้อบ่อยๆ อันนี้ก็เป็นการป้องกันภาวะซีดได้วิธีหนึ่ง
แต่หากว่ามีการควบคุมตัวเองแบบนี้แล้วค่ะ แล้วมีความจำเป็นจะต้องได้รับยาเพิ่มเติมค่ะ คุณหมอก็จะมีการจัดยาให้ มีทั้งยาเม็ด และก็จะมียาฉีดอันนี้ก็ควรจะต้องเป็นคำแนะนำของคุณหมอที่ดูแลแต่ละท่านแล้วอะค่ะ
สรุปปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการซีด
- ซีดจากไต ส่วนมากไตเสื่อมอย่างน้อยระยะ 3
- ป้องกัน โดยการควบคุมปัจจัยที่ช่วยชะลอไตเสื่อม
- ถ้าซีดมาก อาจได้รับยารับประทานหรือยาฉีด ตามคำแนะนำของแพทย์
และสำหรับวันนี้ หมอจะจบวิดีโอไว้แต่เพียงเท่านี้นะคะ ท่านใดที่มีคำถามสงสัย สามารถฝากคอมเม้นท์ไว้ที่ด้านล่างได้ค่ะ และถ้าใครคิดว่า คลิปนี้มีประโยชน์ ก็ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม ฝาก subscribe ให้ด้วยนะคะ สวัสดีค่ะ
[ขอบคุณ พญ.กัลย์ยมล สำหรับข้อมูล ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย S.J.Bank]