เตือนภัยภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ เกิดจากอะไรกันแน่

ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง ความเสี่ยงจากประจำเดือนผิดปกติ ความเสี่ยงต่อมะเร็งจากประจำเดือนมาผิดปกติ



เตือนภัยภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ เกิดจากอะไรกันแน่

หัวข้อบรรยาย : ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ เกิดจากอะไรกันแน่
บรรยายโดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.มัธชุพร สุขประเสริฐ
(อาจารย์สาขาวิชาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี
จากคลิป RAMA CHANNEL




ประจำเดือนของคนเราต้องมาในปริมาณเท่าไหร่ จึงจะถือว่าปกติ

          จริง ๆ แล้ว ผู้หญิงเราเนี่ยค่ะ อย่างชื่อ ประจำเดือน เพราะฉะนั้นแล้ว มันควรจะมาทุกเดือน อย่างแรกเนี่ย คือ ระยะห่างของเขา ควรจะอย่างน้อย คือ 1 เดือนครั้ง หรือโดยประมาณ คือ 21 บวก ลบ 7 วัน ซึ่งผู้หญิงเราส่วนใหญ่เนี่ย ประจำเดือนจะมาในช่วง 28 - 30 วัน อันนี้ก็คือ ปกติ แต่ว่า ถ้าหลุดจากนี้ไป ถ้าเกิด 21 ลองบวก 7 ดู หรือว่า ลบ 7 ดู ก็คือ ไม่ควรจะถี่กว่า 21 วัน หรือ ไม่ควรจะห่างกว่า 35 วัน ส่วนปริมาณที่มา โดยเฉลี่ยก็คือ ประมาณ 3-5 วัน ถ้าสมมุติว่าบางคนเมนมาแบบ 10 วัน 8 วัน อันนี้ก็ถือว่าผิดปกติแล้ว (เกินอาทิตย์หนึ่ง) นะคะ ส่วนปริมาณรอบเดือน แต่ละคนไม่เท่ากันค่ะ คือ น้ำหนักก็มีผล โรคประจำตัวก็มีผล หรือว่ายาที่ทานก็มีผลกับรอบเดือน นะคะ

ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมามากหรือมาน้อย แตกต่างกันอย่างไร

          บางคนก็จะชอบมาตรวจ และก็บ่นว่า ประจำเดือนหนูมานิดเดียว บางคนมาแบบมาก คือ คำว่า "น้อยหรือคำว่ามาก" มันมีอยู่ 2 แบบ ก็คือว่า น้อยก็คือ มาปริมาณน้อย แต่จำนวนวันปกติ หรือน้อยก็คือจำนวนวันที่มาน้อย เช่น มาแค่ 1 วัน เมนก็หมดอะค่ะ อย่างนี้อะค่ะ คือ ไม่ว่าจะเป็น วันน้อยหรือปริมาณน้อย คือมันแล้วแต่เค้าว่า อย่างเช่น ผู้หญิงคนนั้นมีน้ำหนักตัวเป็นอย่างไร คือถ้าเค้าผอมมาก อย่างนี้ โอกาสที่จะมีเมนเยอะผิดปกติมันก็น้อย เพราะว่าส่วนหนึ่งของประจำเดือนหรือว่าฮอร์โมนเพศเนี่ยมันมาจากไขมัน จากชั้นใต้ผิวหนัง นะคะ ในขณะเดียวกัน โรคประจำตัวเอง ก็มีผลค่ะ คือถ้ารู้สึกว่า เราต้องเทียบกับปริมาณเมนก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ที่เรามีมาตั้งแต่วัยรุ่น ถ้าสมมุติว่า เราน้อยมาอย่างนี้แล้วตั้งแต่ต้น ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลอะไร หรือว่า มาเยอะตั้งแต่ต้นเลย อันนี้ก็ไม่ต้องกังวลอะไร แต่ถ้าอยู่ ๆ เมนมาอยู่ในเกณฑ์อย่างที่กล่าวมาตอนต้น แล้วเปลี่ยนมาเป็น น้อยลงอย่างชัดเจน หรือมากขึ้นอย่างชัดเจนเนี่ย ต้อง บางคนหาโรคหล่ะ เพราะว่า อย่างเช่น น้ำหนักตัวเราก็ไม่ได้เปลี่ยน เราก็เท่าเดิม และก็ยาที่กิน หรือ สมุนไพร วิตามินบางตัว มันมีผลต่อเรื่อง การละลายลิ่มเลือด ซึ่งอาจจะทำให้ประจำเดือนมันมาเยอะขึ้น นะคะ หรือแม้กระทั่ง โรคเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกเอง ฮอร์โมนรังไข่ผิดปกติ ไข่ไม่ตก อันนี้ก็ทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้ค่ะ

ปัญหาประจำเดือนมาเยอะมากผิดปกติ มาจากสาหตุใด

          คือส่วนมาก ประจำเดือนมามากเนี่ยค่ะ ก็กลับไปดูก่อนว่า เอ๊ะ สาเหตุทั่ว ๆ ไปง่ายๆ ก่อนว่า เรานอนไม่ค่อยหลับ เราเครียดไหม หรือน้ำหนักตัวเราขึ้นเยอะ หรือลงเยอะหรือเปล่า อันนี้จะเป็นเรื่องการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกตินะคะ แต่ถ้าเราดูแล้ว เอ๊ะ เราก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง อยู่ๆ ก็ประจำเดือนมามาก อันนี้ต้องมาพบสูติ-นรีแพทย์ค่ะ เพื่อตรวจเช็คลักษณะทั่วไปว่า เรามีการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติหรือเปล่า หรือส่วนมากที่เราเจอเลย ก็คือ ตัวเนื้องอก กล้ามเนื้อมดลูก ติ่งเนื้อในโพรงมดลูกค่ะ และก็การทำงานของรังไข่ที่หลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติไป แล้วทำให้เมนมันมาเยอะ บางคนเมนไม่มา 3 เดือน พอเดือนที่ 4 ปรากฏประจำเดือน โห ไหลเป็นท่อประปาเลย อย่างนี้อะค่ะ ที่เรียกว่า การหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติ ค่ะ

ก้อนเนื้องอกภายในมดลูกจะมีความอันตรายแค่ไหน

          จริง ๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่ ที่เลือดออกผิดปกตินะคะ ก็แนะนำว่าควรมาเช็ค เพราะว่ามันแล้วแต่กลุ่มอายุด้วยค่ะ สมมุติว่ากลุ่มอายุน้อย โอกาสที่จะนึกถึงมะเร็งมันอาจจะไม่มาก แต่ว่าถ้ากลุ่มอายุมากเนี่ย คือเนื้องอกโอกาสที่มันจะกลายเป็นมะเร็งมีค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นเนี่ย ถ้า แม้กระทั่งว่าเรามีประจำเดือนผิดปกติเนี่ย ก็คือ รีบมาพบแพทย์ เพราะว่าเราอาจจะมีการตรวจเพิ่มเติม หรือว่าใช้เครื่องมือที่เข้าไปดูดเซลล์ในโพรงมดลูกมาตรวจว่ามีอะไรผิดปกติไหม ลึกถึงเนื้อร้ายหรือเปล่า นะคะ เพราะฉะนั้น เนื้องอกมีหลายระดับ แต่ส่วนมากเลยที่เราเจอกัน ก็คือเนื้องอกชนิดดีค่ะ

มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งหรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้หรือไม่

          คือส่วนมากแล้วเนี่ย เนื้องอกอย่างที่กล่าวไปว่าส่วนใหญ่เป็นชนิดดีเนี่ยค่ะ มันก็มักจะไม่กลายเป็นมะเร็ง แต่ว่าการรักษาขึ้นอยู่กับขนาด และก็ตำแหน่ง คือถ้าเป็นเยอะมากจนกระทั่งเรามีประจำเดือนผิดปกติเนี่ย ก็อาจจะต้องผ่าตัดออกค่ะ แต่ทีนี้ผ่า บางคนก็อาจจะกลัวว่า ตัดมดลูกอะไรหรือเปล่า จริง ๆ ไม่ใช่ เราสามารถตัดเฉพาะตัวเนื้องอกอันนั้นออกได้ นะคะ และก็เอาเนื้องอกนี่แหละไปส่งตรวจ ซึ่งถ้าเราดูเบื้องต้นว่ามันไม่คล้ายมะเร็ง โอกาสที่มันจะกลายไปเป็นมะเร็งเลย มันน้อยกว่า 1% นะคะ แต่ว่าถ้าดูเบื้องต้น คุณหมอนึกถึงมะเร็งตั้งแต่ต้น ก็คือ โตเร็ว นะ ก้อนเนื้อจากที่เคยแบบเล็ก ๆ 3-4 ซม.กลายเป็น 6 ซม. 10 ซม.ภายในระยะเวลา 1 เดือน อย่างนี้ อะค่ะ อย่างนี้จะนึกถึงมะเร็ง ได้ค่อนข้างง่ายกว่า ค่ะ

ประจำเดือนมาน้อย ก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง

          คือประจำเดือนมาน้อย ไม่สม่ำเสมอส่วนมากที่เจอบ่อยสุดเนี่ย คนไทย ก็คือ โรค PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) หรือโรคถุงน้ำในรังไข่ ก็คือปัญหาจากการไม่ตกไข่ นั่นแหละค่ะ เจอทั้งในคนอ้วน คนผอม ค่ะ ซึ่งบางคนก็ เอ๊ะ รู้สึกสบายเราไม่มีเมน 3 เดือน ไม่เปลืองผ้าอนามัย แต่ว่าจริง ๆ แล้วมันผิดปกตินะคะ คือ ชื่อมันชื่อประจำเดือน เพราะฉะนั้นมันควรจะมาทุกเดือน ค่ะ ลักษณะพวกอย่างนี้ เมนน้อย เมนมากผิดปกติ หรือ เมนไม่มา ก็คือ มันก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างเช่น ถ้าเกิดว่าเราปล่อยไว้นาน ๆ บางทีเยื่อบุมดลูกมันแบ่งเซลล์ผิดปกติ กลายไปเป็นมะเร็งของเยื่อในโพรงมดลูกได้ นะคะ หรือแม้กระทั่งในกลุ่ม PCOS เนี่ยค่ะ เขาบอกว่ามันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน หรือว่าไขมันที่ผิดปกติ เพราะว่ามันมีการเผาผลาญไขมันกับน้ำตาลผิดปกติไป เพราะกลุ่มโรคคล้าย ๆ กับเรามีฮอร์โมนเพศชายเยอะ เพราะฉะนั้นจะออกไปทางคล้ายๆ ผู้ชาย อย่างเช่น ขน สิว ผิวมัน อะไรอย่างนี้ ฉะนั้นโรคแทรกซ้อนที่ไปทางด้านที่เพศชายเจอเยอะกว่าเพศหญิง ก็จะเจอเยอะขึ้น

สามารถเกิดกับผู้หญิงในช่วงอายุใดได้บ้าง

          จริง ๆ แล้ว ประจำเดือนมามากผิดปกติเนี่ย จะเกิดอยู่บ่อยๆ 2 ช่วงอายุค่ะ คือ ช่วงใกล้ๆ วัยทอง คือผู้หญิงผู้หญิงอายุมากเลย เพราะว่าการตกไข่มันเริ่มผิดปกติ เพราะฉะนั้น เมนมันอาจจะมาบ้างไม่มาบ้าง พอมาทีมาเยอะ นะคะ กับอีกกลุ่มหนึ่งที่เจอบ่อย ๆ ก็คือ กลุ่มวัยรุ่นค่ะ ที่เริ่มเป็นเมน พวกนี้ก็ปัญหาเดียวกับคล้ายๆ กลุ่มวัยทอง แต่นี่เหมือนกับรังไข่เขาเพิ่งเริ่มทำงาน เพราะฉะนั้นอาจจะมีตกไข่บ้าง ไม่ตกไข่บ้างในบางเดือน เพราะฉะนั้น เมนก็อาจจะเยอะบ้างบางเดือน บางเดือนเมนไม่มา เนี่ยอะคะ จะเป็น 2 กลุ่มอายุที่เราเจอบ่อย ๆ

ช่วงวัยทองมีโอกาสที่ประจำเดือนจะกลับมาหรือไม่

          จริง ๆ แล้ว วัยทองเนี่ยค่ะ คือเราต้องเข้าใจก่อนว่า บางคนเข้าใจว่า "เอ๊ะ ตัวเองเมนเริ่มผิดปกติ อันนี้เข้าสู่วัยทองแล้ว" แต่ว่าถ้าเรานับว่าเข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์เนี่ย ก็คือ ต้องหมดประจำเดือนอย่างน้อย 1 ปี ค่ะ เพราะฉะนั้นเนี่ย ถ้าเราหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 1 ปี มันก็ไม่ควรมีประจำเดือนหรือมีเลือดออกมาอีก ถ้าสมมุติอยู่ ๆ คุณผู้หญิงท่านไหน มีประจำเดือนออกหลัง 1 ปีมาแล้วเนี่ย ต้องกลับมาพบแพทย์ค่ะ เพราะว่าเราจะต้องตรวจเพิ่มเติม อาจจะต้องดูดเอาเซลล์ในโพรงมดลูกไปตรวจ หามะเร็ง ค่ะ

ความเสี่ยงใดบ้าง ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของประจำเดือน

          จริง ๆ ความเสี่ยงในการใช้ชีวิตเนี่ย ก็คนไข้จะชอบถามเยอะว่า "หนูต้องกิน อาหารการกินยังไง ทำไมมันถึงผิดปกติ" คือถ้าในกลุ่มคนที่มีอายุมาก บางทีเขาไปกินพวกยาหม้อ ยาลูกกลอน ซึ่งมันมีพวกสารสเตอรอยด์ หรือแม้กระทั่งสมุนไพรที่เราไม่รู้แหล่งผลิตชัดเจน ไปกินมาคิดว่าอาจจะมีทำให้รอบเดือนปกติได้ ยาขับประจำเดือน อะไรพวกนี้ มันอาจจะมีสารผสมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวท่านเอง นะคะ เป็นเหมือนฮอร์โมนไปกระตุ้นให้มีเลือดออกผิดปกติได้ แต่ถ้าอาหารการกินทั่วไป ที่พวกเรากินอยู่ปกติเนี่ย ไม่มีผลเสียอะไร นะคะ หรือแม้กระทั่งความเชื่อบางความเชื่อ คนไข้ชอบถามว่า "กินน้ำมะพร้าว น้ำเต้าหู้ จะทำให้เลือดออกผิดปกติไหม" อะไรอย่างนี้ จริง ๆ แล้วมันไม่ได้เกี่ยวนะคะ คือ มันอาจจะมีฮอร์โมนเพศตามธรรมชาติบ้าง แต่ว่าถ้าเราไม่ได้กินในปริมาณที่มันเยอะผิดปกติ มันก็ไม่ได้ทำให้มีเลือดออกผิดปกติค่ะ

วิธีสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ของประจำเดือน

          ก็กำลังจะกลับไปสู่ตั้งแต่ตอนต้นเลยที่เกริ่นไว้ว่า เอ่อ ประจำเดือนที่ผิดปกติ ก็คือ ควรมาสม่ำเสมอ อยู่ในช่วง 21 บวก ลบ 7 วัน ส่วนมากผู้หญิงเราจำเมนของตัวเองไม่ได้ค่ะ แนะนำว่าให้จดประจำเดือนใส่โทรศัพท์มือถือเอาก็ได้ ใส่ออแกไนเซอร์ ก็ได้ เพราะว่า ส่วนตัวของหมอเองก็จำเมนตัวเองไม่ได้ ก็ต้องจดเอา เพราะฉะนั้นเนี่ย ถ้าเราเริ่มเห็นความผิดปกติ อย่างเช่น เอ๊ะ ทำไมมันเริ่มถี่ มันห่างไปผิดปกติเนี่ย แนะนำว่าให้จดทุกเดือนว่า วันที่ตั้งต้นเนี่ยมาวันที่เท่าไหร่ และก็สิ้นสุดที่วันไหน นะคะ แล้วก็ท่านก็จะพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว แทนที่จะปล่อยให้มันเป็นไปนานแล้วเพิ่งจะมาพบแพทย์ ค่ะ

การตรวจภายในควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุเท่าไร

          จริง ๆ ตรวจภายในนะคะ ในสตรี แนะนำทุกคนค่ะ ที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์แล้ว ตรวจได้เลย เพราะว่า แต่ก่อนคิดว่า 35 เป็นต้นไป ถึงค่อยตรวจ จริงๆ แล้ว ในปัจจุบัน ผู้หญิงไทยเรามีเพศสัมพันธ์ในอายุที่น้อยลง นะคะ ต่างชาติก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นเรามีโอกาสที่จะติด เขาเรียกเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus ซึ่งไอ้ตัวเชื้อนี้ เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ค่ะ มันก็เลยเป็นที่มาว่า ผู้หญิงเราเมื่อไหร่ก็ตามที่มีเพศสัมพันธ์แล้วเนี่ย แนะนำให้มาตรวจภายในนะคะ เช็คมะเร็งปากมดลูกทุกปี เพื่อที่จะค้นพบความผิดปกติได้ไว และก็เผลอๆ ในระหว่างที่ตรวจภายในเนี่ย นอกจากเราเช็คมะเร็งแล้ว เราก็เช็คของแถมอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกหรือว่า ซีสต์ ที่รังไข่ มันก็สามารถตรวจพบได้จากการที่เราตรวจภายใน ค่ะ


[ขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.มัธชุพร สุขประเสริฐ สำหรับข้อมูล ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: เตือนภัยภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ เกิดจากอะไรกันแน่
เตือนภัยภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ เกิดจากอะไรกันแน่
ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง ความเสี่ยงจากประจำเดือนผิดปกติ ความเสี่ยงต่อมะเร็งจากประจำเดือนมาผิดปกติ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgoizKBk2Y7VrIVKoyxoAaJfg00MQtazaM-AjgPVpdYyFuXYuQdb3XDd6_1OAByNlpT5LmVPCCjwtaYk2PWZD8oBEoqXGbYKWoTVcOW86yX2h_V6wwwtLe_SuYoTsccRkdZYsvbQ9Ij4pc/s320/%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B3%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4-1.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgoizKBk2Y7VrIVKoyxoAaJfg00MQtazaM-AjgPVpdYyFuXYuQdb3XDd6_1OAByNlpT5LmVPCCjwtaYk2PWZD8oBEoqXGbYKWoTVcOW86yX2h_V6wwwtLe_SuYoTsccRkdZYsvbQ9Ij4pc/s72-c/%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B3%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4-1.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/06/blog-post_28.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/06/blog-post_28.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy