การควบคุมอาหารเค็มเพื่อป้องกันและรักษาไต
การควบคุมอาหารเค็มเพื่อป้องกันและรักษาไต
บรรยายโดย : พญ.กัลย์ยมล ธรรมนิรมล อายุรแพทย์โรคไตที่มา : หมอไตให้คำตอบ โดย พญ.กัลย์ยมล
สวัสดีค่ะ หมอกัลย์ยมล อายุรแพทย์โรคไต วันนี้หมอจะพูดถึงเรื่องความเค็ม คนไข้ไตจำเป็นที่จะต้องควบคุมอาหารเค็ม เพราะว่าอาหารเค็ม ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และก็จะนำมาซึ่งไตเสื่อม นะคะ ยิ่งพอเราเป็นโรคไตแล้วอะค่ะ การควบคุมอาหารเค็ม จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยในการชะลอการเสื่อมของไต
พอเราพูดถึงอาหารเค็ม เรานึกถึง เกลือ ค่ะ วันนี้หมอจะพูดถึงโซเดียม(เกลือ) เป็นหลักค่ะ อย่างแรกก็คือ กลุ่มอาหารเค็ม อย่างที่สองก็คือ ไม่เค็ม นะคะ อันแรกที่เค็มก็จะอยู่ในพวกอาหารที่เค็มเลย ไข่เค็ม ปลาเค็ม อาหารดอง อาหารหมัก เช่นพวก ผักดอง ผลไม้ดอง อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง ประมาณนี้ และก็พวกอาหารตากแห้ง กุ้งแห้ง ปลาแห้ง อาหารกระป๋อง อาหารซอง เช่น พวกโจ๊กซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พวกขนมก๊อปแก๊ป อันนี้ก็ใช่ อันนี้ก็คือ อาหารที่มีโซเดียม(เกลือ) เป็นส่วนประกอบ และก็มีรสเค็ม
ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เค็ม แต่มีโซเดียม(เกลือ) เป็นส่วนประกอบ อันนี้ก็ต้องระวังเช่นกัน เช่น อาหารที่ใส่ผงชูรส พวกผงฟู ผงฟูจะอยู่ในแบเกอรี่ ที่เขาใช้ผงฟูเป็นส่วนประกอบ เช่นอะไรบ้าง เช่น เค้ก แพนเค้ก คุ้กกี้ พวกขนมปัง ค่ะ แล้วก็ นอกจากนี้ก็จะอยู่ในพวกน้ำ พวกน้ำเกลือแร่ต่างๆ บางทีเวลาเราชิม จะรู้สึกว่าหวาน ที่จริงก็มีโซเดียม(เกลือ) เป็นส่วนประกอบ
ควรเลือกรับประทานอย่างไร
ก็ต้องรู้ก่อนว่าในอาหาร 1 จานที่เราทานอะค่ะ วัตถุดิบจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อันนี้เกลือมีอยู่แล้ว ประมาณสัก 20% และเกลือเกิดจากการที่เราปรุงเพิ่ม มีผัดมีทอด และก็เติม ซอส เติมน้ำปลาระหว่างที่เราปรุงเนี่ย ประมาณ 70% หลังจากเสิร์ฟอาหารแล้ว ก็จะมีการหยอดน้ำปลา ซีอิ้วเพิ่มอีก อันนี้ประมาณ 10%ดังนั้นการที่เราจะเลือกคุมโซเดียม(เกลือ) อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ก็ต้องเริ่มจาก ขั้นแรกก่อน ก็คือ วัตถุดิบที่ใช้อะค่ะ พยามเลือกวัตถุดิบที่ไม่เค็ม หรือ มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบให้น้อยที่สุด เช่น เมนูที่เป็นพวกไข่เค็ม เป็นปลาเค็ม เป็นกุ้งแห้ง เป็นปลากระป๋อง ผักกระป๋อง พวกนี้ค่ะ ก็พยายามเลี่ยงไปก่อน นะคะ แล้วก็ขั้นตอนที่เราปรุงอะค่ะ ผัดๆ ทอดๆ เราก็จะใส่ซอส ใส่น้ำปลา เพิ่มเนี่ย อันนี้ ใน 1 วัน ก็ไม่ควรใส่เกลือ เกิน 1 ช้อนชา และก็น้ำปลาก็ไม่ควรเกิน 3 ช้อนชาต่อวัน นะคะ
ถ้ารับประทานอาหารนอกบ้าน ทำไงดี
ก็เวลานึกถึงตอนที่เราจะไปสั่งอาหาร ใช่ไหมคะ ขั้นแรกเลยเราก็ต้อง สั่งว่าจะเป็นเมนูอะไร นะคะ เราก็พยายามเลือกเมนูที่ วัตถุดิบที่มันไม่เค็มก่อน ก็ถ้าเป็นไปได้ก็สั่งให้เขาบอกว่า "เค็มน้อย" ค่ะ แต่ถ้าเราสั่งไม่ได้เลย เราก็ต้องมาดู เอ๊ะ ถ้าเป็นอาหารสำเร็จรูปมาแล้วเช่่น กินบะหมี่น้ำ กินก๋วยเตี๋ยวน้ำ ก็พยายามทานเฉพาะเนื้อค่ะ ตรงน้ำก็คือมีโซเดียม(เกลือ) แน่ๆ อันนี้ก็คือ ทิ้งไป(ไม่ทานค่ะ) รวมทั้ง พอเมนูมาตั้งเสร็จปั๊บ ก็พยายาม พวกเครื่องปรุงต่างๆ เช่น ซอส น้ำปลา อะค่ะ รวมทั้งพวกน้ำจิ้มต่างๆ น้ำจิ้มสุกี้ หรือ อะไรอย่างนี้อะค่ะ ก็พยามเลี่ยงไปเลย มีอีกนิดหนึ่ง อะค่ะ พวกผลไม้ ต้องระวัง นะคะ ถ้าเกิดทานผลไม้ ก็พยายามทานเฉพาะตัวผลไม้ ไม่ทานพวกพริกเกลือที่จิ้มมา เช่น ถ้าเกิดเราทำอาหารรับประทานเอง เราก็ค่อยๆ ใส่น้ำปลาให้น้อยลง ต้องใส่เกลือน้อยลง หรือถ้าเราทานอาหารนอกบ้าน เช่น สมมุติง่ายๆ เลย เช่น เราทานก๋วยเตี๋ยวน้ำ เดิมเคยใส่น้ำปลาครั้งละ 3 ช้อน ก็ควรจะลดลง เหลือ 2 ช้อน สักประมาณ 2 สัปดาห์ โอเคระดับนี้รับได้ ก็ค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนสุดท้าย ก็จะทานเฉพาะก๋วยเตี๋ยว เนื้อก๋วยเตี๋ยวท่านใดมีคำถามสงสัย ฝากคอมเม้นท์ไว้ที่ด้านล่างนะคะ และถ้าใครคิดว่า คลิปนี้มีประโยชน์ ก็ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม ฝาก subscribe ให้ด้วยนะคะ
สวัสดีค่ะ
บทสรุป จากคลิปของคุณหมอ มีดังต่อไปนี้ ครับ
1. เลี่ยง
- เค็ม (หมัก ดอง แปรรูป ตากแห้ง กระป๋อง)
- ไม่เค็ม (ผงชูรส ผงฟู น้ำเกลือแร่)
2. เกลือ ไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน น้ำปลาไม่เกิน 3 ช้อนชาต่อวัน
3. ไม่เติม น้ำปลา ซีอิ้ว ซอส พริกเกลือ
4. ไม่กินอาหารส่วนที่เป็นน้ำ
5. ค่อยๆ ลด อาหารเค็มทีละนิด
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย S.J.Bank][เป้าหมายของผม คือ การนำข้อมูลที่เป็นไฟล์เสียง ให้มาอยู่ในรูปตัวอักษร เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลองค์ความรู้ให้อยู่บนอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้]